วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จงแน่วแน่อยู่ในพระพุทธองค์ที่เปี่ยมด้วยกรุณา ( พระอวโลกิเตศวร )

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

  • #ถ้าผู้ตายที่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนใด ๆ จงกล่าวกับเขาดังนี้ว่า " จงแน่วแน่อยู่ในพระพุทธองค์ที่เปี่ยมด้วยกรุณา ( พระอวโลกิเตศวร ) "#
  • เจอประโยคนี้ ในคัมภีร์มรณะศาสตร์ของทิเบต ทำให้อาม่าเข้าใจว่า เหตุใด ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อาม่าไปส่งเขา จึงไปสู่สุคติภูมิ
  • และญาติบางรายก็ฝันว่า ผู้ตายกลับมาบอกลูกหลาน ฝากขอบคุณอาม่า ที่เขาโดนลากไปแล้ว แต่มีมือที่มองไม่เห็นมาเขียนอักขระที่หน้าผาก แล้วผู้ตายก็หลุดลอยละลิ่วกลับมา จากทุคติภูมินั้น
  • บาร์โด คือศาสตร์มรณะของทิเบต
  • บาร์โดเป็นคำธิเบตที่มีความหมายว่า" การเปลี่ยนผ่าน " หรือช่อง ว่างระหว่างสถานการณ์ที่สิ้นสุดลงและอีกสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
  • บาร์ แปลว่า " ในระหว่าง " และโด แปลว่า " ถูกระงับ " หรือ " ถูกโยน "
  • คำสอนเกี่ยวกับบาร์โด เราจะพบว่าความรู้ของพระพุทธองค์เกี่ยว กับชีวิตและความตายนั้นช่างลึกซึ้งและครอบคลุมกว้างขวางอย่างยิ่ง
  • และแท้ ที่จริงสิ่งที่เราเรียกว่า " ชีวิต " และสิ่งที่เราเรียกว่า " ความตาย " นั้นไม่สามารถ แยกจากกันได้เลย เมื่อมองและทำความเข้าใจจากแง่ของการรู้แจ้ง
  • เราสามารถแยกความเป็นไปของคนออกเป็นสี่ด้าน อธิบายได้ว่า...
    • 1.ชีวิต ได้แก่บาร์โด " ธรรมชาติ " คือ บาร์โดแห่งชีวิตที่กำลังดำเนินนี้
    • 2.ภาวะใกล้ตายจนตาย ได้แก่บาร์โด " อันทุกข์ทรมาณ " คือ บาร์โดแห่งการตาย
    • 3.ความตายได้แก่บาร์โด " อันแจ่มกระจ่าง " คือ บาร์โดแห่งธรรมตา
    • 4.ภาวะหลังความตายและการเกิดใหม่ได้แก่บาร์โด " แห่งกรรม " หรือ บาร์โดแห่งการถือกำเนิด
  • นั่นคือ....
  • ๑. บาร์โดธรรมชาติหรือบาร์โดแห่งชีวิตนี้ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจน ตาย ตามความรู้ในระดับที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน
    • ช่วงเวลาดังกล่าวอาจดูเหมือน ว่าไม่น่าจะเป็นบาร์โดหรือความเปลี่ยนผ่าน แต่หากเราใตร่ครวญก็จะเห็น ได้ชัดว่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอันยาวไกลของสัมสารวัฏของเราแล้ว บาร์โด ของชีวิตนี้เป็นช่วงเวลาเดียวเท่านั้น
    • ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับ การเตรียมตัวตาย โดยการทำใจให้คุ้นเคยกับคำสอนและปฏิบัติจนตั้งมั่น
  • ๒. บาร์โดอันทุกข์ทรมาณหรือบาร์โดแห่งการตายกินเวลาตั้งแต่ขั้นตอนแห่ง การตายเริ่มขึ้น ไปจนถึงการสิ้นสุดของสิ่งที่เรียกว่า " ลมหายใจภายใน "
    • บาร์โดดังกล่าวจะมาสุดตรงที่การปรากฏแห่งธรรมชาติของจิตเดิมแท้ ซึ่ง เราเรียกว่า         " ความกระจ่างแห่งพื้นภูมิ " ขณะสิ้นชีวิต
  • ๓. บาร์โดอันแจ่มกระจ่างหรือบาร์โดแห่งธรรมตา ซึ่งครอบคลุมประสบการณ์ หลังความตาย
    • อันเป็นภาวะที่ธรรมชาติแห่งจิตได้แผ่รัศมี เป็น ความกระ จ่างหรือ " แสงกระจ่าง " ซึ่งปรากฏเป็นเสียง สี และแสง
    • ๔. บาร์โดแห่งกรรมหรือบาร์โดแห่งการถือกำเนิด คือสิ่งที่เราเรียกกันโดย ทั่วไปว่า บาร์โดหรืออันตรภพ ซึ่งไปสิ้นสุดเมื่อเราไปเกิดใหม่
  • สิ่งที่แยกแยะและบ่งชี้บาร์โดแต่ละประเภทเหล่านี้ล้วนเป็นช่องว่างหรือช่วง เวลาที่มีโอกาสรู้แจ้ง
  • โอกาสแห่งการหลุดพ้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่สะ ดุดขาดช่วงตั้งแต่เกิดไปจนตาย
  • และคำสอนเรื่องบาร์โดเป็นกุญแจหรืออุป กรณ์ที่ช่วยให้เราค้นพบและจดจำโอกาสดังกล่าวได้ และใช้โอกาสดังกล่าว ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • #กลับจากทิเบต อาม่าจะเผยแพร่ และสอนคัมภีร์มรณะศาสตร์แห่งบิเบตนี้ เพื่อประโยชน์ที่ลูกๆจะนำไปเป็นประโยชน์ตนเอง และช่วยคนใกล้ตัว ยามถึงเวลาต้องจาก#
  • อาม่า....พระเชนเรซิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์