วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ทศภูมิ ภูมิธรรมทั้ง 10 ของโพธิสัตว์





ทศภูมิ ภูมิธรรมทั้ง10ของโพธิสัตว์

ภูมิธรรมแรกคือ"ประมุทิตา"

คือยินดีในความไม่มีทุกข์ของผู้อื่น

ภูมิธรรมแรกจะเชื่อมโยงกับทานบารมี
แต่ทานบารมีนี้จะไม่แยกกับปัญญา
เพราะทานบารมี
จะเกิดเมื่อไม่มีการแบ่งแยกผู้ให้กับผู้รับ 
ไม่มีการคาดหวัง
ทำบุญโดยไม่หวังบุญ 
แค่ทำหน้าที่ตามปนิธานที่เป็นเหตุปัจจัยชี้นำ
ดังนั้น
แค่ภูมิธรรมแรก 
พระโพธิสัตว์ก็เริ่มปล่อยวางแล้ว 
ทั้งตัวบุคคลและธรรม
มีความปิติในการหยั่งรู้ความว่างหล่อเลี้ยงใจ



ภูมิธรรมที่ 2 เรียกว่า" วิมลา"
หมายถึงความบริสุทธ์ ปราศจากราคี 
ภูมินี้ศีลบารมีเป็นใหญ่
แต่การรักษาศีลนี้ก็แนบเนื่องด้วยปัญญาเช่นกัน 
คือมองว่า 
ทุกชีวิตต่างเวียนว่ายและเป็นทุกข์ 
ความกรุณานำพาให้ไม่อยากเบียดเบียนใคร
จึงไม่ได้รักษาศีลเพื่อให้ตนดีงามบริสุทธ์
แต่รักษาเพราะตระหนักถึงการอิงอาศัยกัน
ทุกการกระทำของพระโพธิสัตว์ 
ประกอบด้วยปัญญาและกรุณา
ใจบริสุทธ์เพียงเพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์เท่านั้น
จะไม่นำสิ่งใดเข้าตน แม้ความดี
สละทั้งตนเอง สละทั้งธรรม!!!
2 ภูมินี้ ลองสำรวจตนก่อนนะคะ
ถ้าใครผ่านแล้ว ก็เข้าท่าแล้วล่ะ
เราจะได้วัดตนเองต่อไปในภูมิที่ 3-10
้เดี้ยว อาม่าจะต่อ จนครบค่ะ สาธุ
ถ้าผ่านถึงภูมิที่ 6 ถอนพุทธภูมิไม่ได้แล้ว


ภูมิธรรมระดับ 3 ชื่อว่า"ประภาการี"

แปลว่า.....สว่าง แสงไฟนี้ใช้ดับทวิภาวะ(ธรรมคู่)
ภูมินี้จะเปล่งปลั่งมีราศีพระโพธิสัตว์

ภูมินี้จะเข้าใจแจ่มแจ้งถึงความไม่เที่ยง 
เห็นสรรพสิ่งผันแปร 
ไม่มีอะไรยึดเหนี่ยวไว้ได้เลย

ขันติบารมี 
จึงเป็นจุดสำคัญของพระโพธิสัตว์ที่เดินมาระดับนี้ 
ท่าน จะไม่ต่อต้าน ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่เอาคืน 
อดทนอดกลั้นต่อความไม่เที่ยงของทุกสรรพสิ่ง
รวมทั้งความผันแปรในชีวิตตนเองด้วย

ปัญญาระดับนี้ 
ต้องเข้าถึงมองเห็นอนัตตาจริงๆ

เพราะการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น...

การบำเพ็ญขันติบารมียากยิ่งกว่าบารมีใด

จึงต้องอาศัยปัญญา 
และมองทุกรูปนามด้วยจิตเมตตากรุณาอันไพศาลจริงๆ

จนท่านสามารถเข้าใจและยอมรับความทุกข์ได้
และไม่ถูกรบกวนจากความเจ็บปวด
ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ภูมิธรรมอันดับ 4 ชื่อว่า "อรรถจีสมดี"
แปลว่ารุ่งเรือง
หมายถึงจิตที่มุ่งสู่โพธิปักขิยธรรมอย่างเข้มแข็ง
ภูมินี้เน้นวิริยะบารมีเพราะต้องเพียรอย่างยิ่งยวด
ท่านจะเจริญสติปํฐฐาน เจริญมรรค8
พระโพธิสัตว์ภูมินี้
จะแบ่งเวลาบวชเนกขัมมะ
เข้าคอร์สปฎิบัติธรรมหรือบำเพ็ญอย่างตั้งอกตั้งใจ
ภูมินี้ ยังอยู่ในรูปแบบและการแสวงหาอยู่
🌹🌹🌹🌹🌹🌹🌹🌹🌹🌹


ภูมิธรรมระดับ 5 เรียกว่า "ทุรชยา"
หมายถึงการที่ผู้อื่นเอาชนะได้ยาก

ผู้อื่นนี้ คือมาร หรือเชื้ออกุศลในใจท่านเอง
เหตุที่มารหรืออะไรก็เอาชนะท่านไม่ได้ 
เพราะท่านจะตั้งมั่นที่จะดำเนินรอยแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จิตจึงดิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว 
คือแน่วแน่ในกุศลสมาธิ
บารมีจึงเด่นในข้อนี้
แต่คำว่า "สมาธิบารมี "
มิใช่หมายความว่าเก่งในการนั่งสมาธิ
เพราะคำว่าสมาธิ แปลว่าการตั้งมั่น 
ไม่ใช่ท่าทางรูปแบบอย่างที่ชาวโลกเข้าใจ

หากจิตตั้งมั่นในกุศลและพระรัตนตรัยไม่แคลนคลอน 
สภาพจิตจะเยือกเย็น 
ก็ขึ้นชื่อว่าบำเพ็ญสมาธิบารมี
****สมาธิของพระโพธิสัตว์นั้น ไม่มีเข้าออก
หากแต่อยู่ในสมาธิตลอดเวลาด้วยปัญญาอันสมบูรณ์****

และที่สำคัญ 
เพราะภูมิปัญญาที่เข้าถึงสุญญตา 
จะทำให้จิตท่านไม่แบ่งแยก
ภูมิ 5 นี้จะเริ่มมองเห็นโลกเป็นส่วนหนึ่งของธรรม 
ไม่ปฎิเสธโลก
แต่จะเริ่มเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ 
เป็นอุบายการช่วยสรรพสัตว์ 
มุมมองการปฎิเสธโลกหายไป
เมื่อไม่มีอะไรเป็นแก่นสารจนต้องแบ่งแยก
สิ่งกีดขวางท่านกับสรรพสัตว์ย่อมไม่มี
จึงไม่มีอะไร ที่จะเอาชนะท่านได้ 
เพราะมันว่างเปล่าในสาระเสียแล้ว
ทั้งผู้ชนะ สิ่งที่ต้องเอาชนะ 
ย่อมไร้แก่นสารเมื่อจิตถึงตรงนี้

ตั้งแต่ภูมิ 1-10 
จะมีพระพุทธเจ้า จากทศทิศ 
คุ้มครองดูแลเสมอตลอดเส้นทาง 
ด้วยเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร

ใช่ว่าใคร จะถอนปนิธาน
หรือถอนพุทธภูมิได้ทุกคน 
เพราะผู้ที่ถอนได้ 
คือผู้ที่ยังไม่ได้รับการพยากรณ์
จากพระพุทธเจ้าเท่านั้น
แต่...
ผู้ที่จะได้รับการพยากรณ์
จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
ก็ต้องบำเพ็ญจนเข้าภูมิที่ 6 แล้วเท่านั้นเช่นกัน

*****ภูมิที่กลับหลังไม่ได้อีกต่อไป****
นับจากภูมิหกนี้ไป กลับหลังไม่ได้ 
โพธิสัตว์จะพ้นทางพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า 
โดยเด็ดขาด!!!

ภูมิธรรมระดับ 6 นี้ เรียก"อภิมุขี" 
แปลว่าผินหน้าสู่นิพพาน
ภูมินี้เป็นระดับมองสิ่งทั้งหลายสัมพันธ์กัน
รู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาท อาศัยปัญญาพิจารณาธรรม

ภูมินี้จึงเน้น"ปัญญาบารมี"
ตั้งแต่ปลุกโพธิจิต 
โพธิสัตว์ก็ต้องเจริญปัญญามาเรื่อยๆ ตั้งแต่ภูมิหนึ่ง
แต่ภูมินี้ตระหนักรู้และเท่าทันธรรมชาติ
หลุดพ้นได้แล้ว แต่ไม่เปลี่ยนอุดมการณ์และเป้าหมาย
แม้อุปาทานการยึดมั่นต่อโลกจะหมดไป
แต่ยังยึดถือโพธิญาน

แม้มีศักยภาพหลุดพ้นได้ 
แต่กลับเลือกเดินหน้ากลับสู่สังสารวัฎ
จิตพร้อมนิพพานแต่หันหลังให้นิพพาน
ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นขนาดนี้ 
ต้องบ่มเพาะเชื้อกรุณาอย่างแรงกล้าในสันดาน 
มาเป็นเวลาหลายพุทธันดร
"สุญญตา" 
เป็นก้าวต่อจากนิพพานของโพธิสัตว์
นับจากภูมิที่ 6 เป็นต้นไป
โพธิสัตว์จะอยู่นอกเหนือทาง
พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า

ไม่มีการเปลี่ยนเส้นทาง ถอนพุทธภูมิ
หรือ...กลับหลังได้อีกแล้ว!!!!!

ภูมิธรรมระดับที่ 7 เรียกว่า ทุรังคมา 
แปลว่าไกล
(ภูมินี้มีบารมีออกโปรด)
แสดงถึงสภาพจิตของโพธิสัตว์
ที่พร้อมทำหน้าที่โปรดสัตว์
โดยพิจารณาจริตที่แตกต่างของสรรพสัตว์ได้
ท่านสามารถใช้พลังทางจิต 
เป็นอะไรก็ได้สำหรับการส่งและรับสาร
ท่านสามารถกำหนดเครื่องมือ ที่เหมาะสมในการโปรดสัตว์
ได้แก่ 
ฌานสมาบัติ ปรัชญา ธารณี ปฎิภาน 
ศาสตราคม อาถรรพณ์เวช นานาศิลปวิทยา 
ที่พระโพธิสัตว์ต้องเจนจบ
การบำเพ็ญเนิ่นนาน....จะถึงพร้อมหมด
"อุปายะบารมี" 
จึงเป็นจุดเน้นของภูมิธรรมที่ 7 ภูมิที่ออกโปรดสัตว์ได้
ภูมินี้ความก้าวหน้าทางจิตไม่ผันแปรตามปัจจัยภายนอก
แม้ภายนอกท่านจะแสดงจริยาอย่างไร
ดูเหมือนตกหล่น ซวนเซ ไปบ้าง
แต่ภายในจิตท่านจะเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
พระโพธิสัตว์ระดับนี้ 
พร้อมรับพุทธพยากรณ์แล้วและจะเป็นนิยตโพธิสัตว์ต่อไป


นิมิตหรือสภาวะที่สัมผัสพระพุทธเจ้าได้

ภูมิธรรมระดับ 8 เรียกว่า "อจละ" 
แปลว่าแน่วแน่ไม่หวั่นไหว
แสดงถึงสภาพจิตพระโพธิสัตว์

ที่ก้าวสู่ความมั่นใจในพุทธภาวะแห่งตน 
และได้รับการพยากรณ์แล้ว

ภูมินี้จะตื่นจากภวังค์และถอดถอนมิจฉาทิฐิ 

ดำเนินชีวิตอยู่ในสมาธิตลอดเวลา 
โดยไม่มีการเข้าออก
ลืมตาหรือหลับตา ก็ดำรงอยู่ในสมาธิ
โพธิสัตว์ภูมินี้ จะมีชีวิตปกติธรรมดา 
จะทำกิจอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด 
ภายใต้กำลังของจิต
ประกอบด้วยปัญญาและกรุณาอันเข้มแข็ง
ภูมินี้มี "ปณิธานบารมี" เป็นใหญ่ 
เพราะจิตใจกลายเป็นมหาสัตว์แล้ว
ไม่มีความอยากแม้ความหลุดพ้น 
เพราะหลุดพ้นไปจากความหลุดพ้นแล้ว
หนักแน่น มั่นคง ไม่ผันแปรจากปนิธาน
การสัมผัสพุทธภาวะ 
การหยั่งเห็นพระพุทธเจ้าในนิมิต 
ถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับภูมิธรรมนี้

***ย้ำ!!สูงสุดคืนสู่สามัญ***
ภูมินี้จะมีชีวิตปกติธรรมดาที่สุด 
จะทำกิจอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

ภายใต้กำลังของจิต
ประกอบด้วยปัญญาและกรุณาอันเข้มแข็ง
เส้นทางนี้ ลึกซึ้งเกินหยั่งถึง 
เพราะทุกภูมิหนุนนำด้วยปัญญา 


และสุญญตาวิหารตลอดเส้นทาง


ไม่มีใครหยั่ง โพธิจริยา ได้หรอก

ด้วยสัจจะแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้น 
ปราศจาก ...ภาวะ

เพราะเมื่อใดที่เกิดภาวะแห่งตนแล้ว
ก็จะมีบัญญัติต่างๆ ตามมามากมาย

มีบัญญัติการเข้าถึงและการไม่เข้าถึง
มีบัญญัติการเห็นแจ้งและการไม่เห็นแจ้ง

มีความเห็น มีทิฐิทั้งปวงเกิดขึ้น
นั่นได้ นี่ไม่ได้ ตกหล่นในทวิภาวะจนติดขัด
อัตตาและมานะยิ่งทบทวีเป็นเงาตามตัว

โพธิสัตว์ทั้งปวงจึงปราศจากสังขารภาวะ
หากแต่อาศัยมหากรุณาจิตเป็นสังขาร

"สังขาร" แปลว่า การปรุงแต่ง

หากปรุงแต่งภาวะต่างๆ
แม้เพื่อมุ่งหวังความหลุดพ้นก็จะเป็นไปเพื่อ..ตน

หากปรุงแต่งมหากรุณา ทุกอิริยาบถจะเป็นไปเพื่อ...เวไนย

"มหาปัญญา" 
นี้ทำให้การท่องเที่ยวของพระโพธิสัตว์
ไม่ตกสู่สังสารวัฏและไม่ด่วนนิพพาน

มหาอุปายะ(อุบายธรรม)มากมายจึงอุบัติ

เพื่ออะไรนะหรือ??
ก็เพื่อ..
อนุโลมสัตว์ทั้งปวงเข้าสู่กระแสแห่งโพธิญาน


แม้พระพุทธองค์ยังตรัสกับพระอานนท์ว่า

"ดูกร อานนท์

มหาสมุทรลึกล้ำทั้งปวงยังหยั่งได้
แต่ภูมิธรรมพระโพธิสัตว์นั้น 

อันได้แก่ 
ฌานสมาบัติ ปรัชญา ธารณี ปฎิภาน ศาสตราคม 
อาถรรพณ์เวช นานาศิลปวิทยา 
ที่พระโพธิสัตว์ต้องเจนจบ
เป็นฐานะ 
ที่ย่อมประมาณ หยั่งถึงมิได้เลย

พระโพธิสัตว์ 
มิหมายมั่นในอสังขตธรรม(นิพพาน) 
และไม่สละ สังขตธรรม(สังสารวัฏ)จนหมด

ไม่ถือเอาสุญญตาธรรม เป็นธรรมอันบรรลุ

แม้พิจารณาธรรม 
อันปราศจากการมา การไป จนเจนจบ

แต่ยังมี 
กุศลธรรมเป็นที่หมาย 
เพราะยังต้องใช้อุปาทานธรรมในการโปรด

จริยาวัตรของพระโพธิสัตว์นั้น 
จึงเกินปัญญาที่ปุถุชนจะเข้าใจ ได้"

อาม่าขอจบภูมิธรรมพระโพธิสัตว์
แค่ลำดับที่ 8 เพราะลำดับที่ 9-10 นั้น 
เป็นสภาวะอจินไตยวิมุตติล้วนๆ
โพสต์ไป ก็ทำให้เวไนย จินตนาการต่างๆนาๆ
ไม่มีใครหยั่ง โพธิจริยา ได้หรอก
ด้วยสัจจะแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้น 

ปราศจาก ...ภาวะ

เพราะเมื่อใดที่เกิดภาวะแห่งตนแล้ว
ก็จะมีบัญญัติต่างๆ ตามมามากมาย

มีบัญญัติการเข้าถึงและการไม่เข้าถึง
มีบัญญัติการเห็นแจ้ง และการไม่เห็นแจ้ง

มีความเห็น มีทิฐิทั้งปวงเกิดขึ้น
นั่นได้ นี่ไม่ได้ ตกหล่นในทวิภาวะจนติดขัด
อัตตาและมานะยิ่งทบทวีเป็นเงาตามตัว
โพธิสัตว์ทั้งปวงจึงปราศจากสังขารภาวะ
หากแต่อาศัยมหากรุณาจิตเป็นสังขาร

"สังขาร" แปลว่าการปรุงแต่ง
หากปรุงแต่งภาวะต่างๆ
แม้เพื่อมุ่งหวังความหลุดพ้น
ก็จะเป็นไปเพื่อ..ตน

หากปรุงแต่งมหากรุณา ทุกอิริยาบถ
จะเป็นไปเพื่อ...เวไนย
"มหาปัญญา"
นี้ทำให้การท่องเที่ยวของพระโพธิสัตว์
ไม่ตกสู่สังสารวัฏ
และไม่ด่วนนิพพาน
มหาอุปายะ(อุบายธรรม) มากมายจึงอุบัติ
เพื่ออะไรนะหรือ??
ก็เพื่อ
อนุโลมสัตว์ทั้งปวง
เข้าสู่กระแสแห่งโพธิญาน

ด้วยเหตุนี้
แม้พระพุทธองค์ยังตรัสกับพระอานนท์ว่า
"ดูกร อานนท์
มหาสมุทรลึกล้ำทั้งปวงยังหยั่งได้
แต่ภูมิธรรมพระโพธิสัตว์นั้น
อันได้แก่ ฌานสมาบัติ ปรัชญา ธารณี ปฎิภาน ศาสตราคม 
อาถรรพณ์เวช นานาศิลปวิทยา ที่พระโพธิสัตว์ต้องเจนจบ
เป็นฐานะ ที่ย่อมประมาณ หยั่งถึงมิได้เลย
พระโพธิสัตว์ มิหมายมั่นในอสังขตธรรม(นิพพาน) 
และไม่สละ สังขตธรรม(สังสารวัฏ)จนหมด
ไม่ถือเอาสุญญตาธรรม เป็นธรรมอันบรรลุ
แม้พิจารณาธรรม 
อันปราศจากการมา การไป จนเจนจบ
แต่ยังมี กุศลธรรมเป็นที่หมาย 
เพราะยังต้องใช้อุปาทานธรรมในการโปรด
จริยาวัตรของพระโพธิสัตว์นั้น 
จึงเกินปัญญาที่ปุถุชนจะเข้าใจ ได้"


                      พระเชนเรซิก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์