วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

พระสูตรสำคัญของมหายาน


พระสูตรสำคัญของมหายานมีอะไรบ้างแต่ละสูตรว่าด้วยเรื่องอะไร

          สำหรับพระสูตรของมหายานนั้นมีมากมาย แต่ละสูตรจะยาวมาก บางสูตรอ่านหลาย ๆ สัปดาห์จึงหมด เช่น มหาปรัชญาปารมิตา มีถึง 600 ผูกในสูตรเดียว อวตังสกมหาไพบูลยสูตรมี 80 ผูก ในที่นี้จะขอคัดรายชื่อพระสูตรสำคัญของมหายานมาพอสังเขป ดังนี้
1.วัชรปรัชญาปารมิตา 
          พระวัชรปรัชญาปารมิตสูตรชั้นหลักอันสำคัญยิ่งสูตรหนึ่งของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พุทธมามกชนฝ่ายมหายาน ทั้งจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลี ย่อมรู้จักคุ้นเคยกับพระสูตรนี้ได้ดี โดยเฉพาะในวงการพุทธบริษัทจีน ได้จัดพระสูตรนี้เป็นปาฐะที่จะต้องสวดสาธยายในงานพิธีศราทธพรต ดุจเดียวกับการสวดอภิธรรมของเรา ถ้าว่าโดยลักษณะของพระสูตรนี้ ก็จัดเข้าในหมวดปรัชญาปารมิตาในพระไตรปิฎกของลัทธิมหายาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตาที่สำคัญๆ อาทิเช่น มหาปรชญาปารมิตาสูตรก็ดี ไมตรีราชาโลกปาลสูตรก็ดี และวัชรปรัชญาปารมิตสูตร ฯลฯ ก็ดี ล้วนเป็นหลักธรรมสำคัญของลัทธิมหายานนิกายศูนยตวาทินหรือที่เรียกอีกนามหนึ่งว่า นิกายมาธยมิกะ อันมีพระนาคารชุนมหาเถราจารย์ชาวอินเดียใต้เป็นผู้ก่อกำเนินมนครั้งพุทธศตวรรษที่ 7 แต่วัชรปรัชญาปารมิตสูตร ใช่ว่าจะมีความสำคัญสำหรับนิกายศูนยตวิทินนิกายเดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้นิกายอื่นๆ ในลัทธิมหายาน เช่นนิกายวิชญาณวาทิน หรือโยคาจารย์ นิกายเซ็น นิกายเทียนไท้ นิกายฮั่วเงี้ยม และนิกายสุขาวดี ก็นับถือยกย่องพระสูตรนี้ คณาจารย์แห่งนิกายดังกล่าว ได้แต่งอรรถกถาแก้พระสูตรนี้ ตามคติแห่งิกายของตน นับตั้งแต่บุราณกาลจวบจนสมัยปัจจุบัน ยิ่งนิกายเซ็นด้วยแล้ว ก็ยิ่งบูชาพระสูตรนี้หนักหนา ถึงกับถือว่าวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรเป็นดุจกุญแจที่จะไขให้ผู้ปฏิบัติธรรมบรรลุถึงความเป็นพุทธโดยฉับพลัน (เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, 264-265)
           ปรัชญาปารมิตาสูตร จัดว่าเป็นพระสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีว่าด้วยศูนยตา ปรัชญาปารมิตาสูตรนี้มีอยู่หลายคัมภีร์ด้วยกัน เช่น มหาปรัชญาปารมิตา อัษตสหัสริกปรัชญาปารมิตาหฤทยะ เป็นต้น พระสูตรนี้ได้แปลออกเป็นภาคจีนประมาณพ.ศ.713 ท่านกุมารชีพ แปลไว้หลายคัมภีร์ เช่นอัษตสหัสริกะ วัชรัจเฉทิกะอันเป็รคัมภีร์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดชาวจีนมากที่สุด วัชรัจเฉทิกะปรัชญาปารมิตาสูตร สอนว่า "ทกๆสิ่ง ทุกๆอย่างเป็นเพียงมายา เป็นเพียงปรากฏการณ์ และเป็นเพียงผลิตกรรมของจิตของเราเองเท่านั้น" แล้วลงท้ายด้วยคำว่า "สิ่งประกอบทั้งมวลเหมือนความฝัน ฟองน้ำ เงาหยาดน้ำค้าง แสงฟ้าแลบ" ส่วนในปรัชญาปารมิตาหฤทยะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สั้นที่สุด และเป็นหัวใจของพระสูตรชุดนี้ได้กล่าวถึงเรื่องของศูนยตาไว้โดยละเอียด อ่านดูได้จากลิงค์ในคำสอนมหายาน

          (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)
          http://www.mahayana.in.th/tmayana/vajraparmita.html
          http://www.agalico.com/board/archive/index.php/t-18675.html

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร กับอนัตลักขณสูตร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
           “คติธรรมในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร นี้ ไม่มีอะไรพิสดารนอกเหนือกว่าคติธรรมในอนัตตลักขณสูตรฝ่ายบาลี เพียงแต่อนัตตลักขณสูตรพูดอย่างย่อๆ สั้น ๆ ไม่ละเอียดในเชิงวิจัย เช่นวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรเท่านั้น อย่างไรก็ตามทั้ง 2 พระสูตรนี้เป็นสูตรประกาศทฤษฎี “อนัตตา” หรือ “อนาตมา” ควมไม่มีตัวตนนั้นเป็นจุดเด่นพิเศษของพระพุทธศาสนาที่แตกต่างจากปรัชญาชั้นสูงของพราหมณ์ เช่นปรัชญาเวทานตะก็ดี ปรัชญาสางขยาก็ดี แม้จะสอนให้ละความยึดถือในสรรพสิ่งอื่นๆ มีร่างกายและวิญญาณเป็นต้น แต่ที่สุดก็ยังมี “อาตมัน” หรือ “พรหมาตมัน” คือตัวตนที่แท้จริง เหลืออยู่เป็นบรมสุขเป็นนิพพานในตัวของมันเอง หรือไปกลมกลืนกับสภาพอมตะอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนพระพุทธศาสนาสอนให้รุดหน้าไปโดยการดับแม้ที่สุดความมีอยู่แห่งอาตมันนี้ด้วย เป็นการดับรอบขั้นสุดท้าย เพราะตราบใดที่ยังมี “ตัวเรา” ตราบนั้นก็ยังมี “ของ ๆ เรา” ตราบใดยังมี “ผู้รู้” ตราบนั้นก็ยังมี “สิ่งที่รู้” ซึ่งทางพระพุทธศาสนาถือว่ายังเป็นอาสวกิเลสชั้นสุขุมละเอียดอยู่ ไม่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้เด็ดขาดเหมือนมีกองไฟอยู่ก็ย่อมมีความร้อนฉะนั้น หลักธรรมซึ่งปรากฏในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรว่าโดยสรุปแล้วก็คือการปฏิเสธความมีอยู่แห่ง “ตัวตนหรือผู้รู้” และปฏิเสธความมีอยู่แห่ง “สิ่งที่รู้” กล่าวคือปฏิเสธอหังการและมมังการนั้นเอง (ชุมนุมพระสูตรมหายาน, เสถียร โพธินันทะ, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516) หน้า 265-267

2. อวตังสกะสูตร 
          อวตังสกะสูตร มหายานถือว่า เป็นพระสูตรที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิหรืออยู่ในสภาพธรรมกาย อวตังสกะสูตรนี้ ต้นฉบับแปลที่สมบูรณ์มีอยู่ 2 ฉบับคือ
          2.1 ฉบับที่แปลโดย ท่านพุทธภัทระ เป็นหนังสือ 60 เล่ม แปลในราชวงศ์ชินตะวันออก ในระหว่างปี พ.ศ.961-1063
          2.2 ฉบับแปลโดยท่านศึกษานันทะ ซึ่งได้แปลในสมัยราชวงศ์ถัง ระหว่างปี1238-1242 เป็นหนังสือ 80 เล่ม ในปี พ.ศ.1439-1440 ท่านปรัชญาได้แปลอีกฉบับหนึ่ง เป็นหนังสือ 40 เล่ม
          ใจความสำคัญของพระสูตรนี้คือ "เมื่อเราพิจารณาโลกในแสงจิตภาพของไวโรจนพุทธ พุทธที่สูงสุดหรือธรรมกาย เราเห็นโลกเต็มไปด้วยความแจ่มใสเห็นโลกแห่งแสงบริสุทธิ์แท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นหนึ่ง หนึ่งนั้นคือสัจสุงสุด พุทธะ จิต สรรพสัตว์ เป็นหนึ่ง"
           (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)
3. คัณฑวยุหสูตร 
          ในคัณฑวยุสูตรนี้ เป็นพระสูตรที่บรรยายการจาริกแสวงโมกษะธรรมของชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ สุธนะ ซึ่งมีเรื่องอยู่ว่า
          สมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ เชตวนารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐีท่ามกลางหมู่พระโพธิสัตว์ 500 ซึ่งมีพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เป็นหัวหน้าพระโพธิสัตว์เหล่านั้น กำลังคอยฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์อยู่ แต่พระพุทธเจ้าทรงเข้าสมาธิเสีย พร้อมกับได้ทรงเนรมิตพระเชตวนารามให้ใหญ่โตอย่างหาขอบเขตมิได้ พระโพธิสัตว์จากสิบทิศได้พร้อมกันมาเฝ้าพระองค์และได้แต่งโศลกสรรเสริญพระองค์ พระพุทธเจ้าได้ทรงเปล่งรัศมีออกจากระหว่างขนตาส่องสว่านเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั่วทศทิศ เป็นเหตุให้ดวงใจของพระโพธิสัตว์ทั้งมวลเต็มเปี่ยมไปด้วยความกรุณา เพื่อจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์
          พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จึงได้ท่องเที่ยวสั่งสอนประชาชนในที่ต่างๆ ในสมัยหนึ่ง ในขณะที่กำลังสั่งสอนชาวประชาอยู่ในเมื่องหนึ่งของแคว้นธัญยการะ มีเด็กหนุ่มในตระกูลผู้มั่งคั่งคนหนึ่งชื่อ "สุธนะ" นั่งฟังธรรมอยู่ในที่ชุมนุนนั้นด้วย สุธนะฟังด้วยปรารถนาเพื่อศึกษา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์จึงได้แนะนำแก่เขาว่า "ในการแสวงหาสัจธรรมนั้น เธอต้องแสวงหาเพื่อนที่แท้จริงคอยช่วยเหลือ จงไปทีภูเขามโยโฮประเทศโษรกุ ณ ที่นั้นเธอจะพบสครเมฆภิกษุ ท่านจะให้คำแนะนำที่ดีต่อเธอ
สุธนะจึงได้เดินทางไปพบสครเมฆภิกษุ ท่านก็ได้สั่งสอนแก่เขาอย่างกว้างขวางและแนะนำให้เขาไปหาเพื่อนคนอื่นๆต่อไปอีก โดยนั้นนี้           สุธนะจึงได้ไปเที่ยวหาสหายถึง 53 คน สุดท้ายได้ไปหาพระสมัตรภัทรโพธิสัตว์ อาศัยคำสั่งสอนของท่าน สุธนะจึงได้บรรลุธรรมธาตุสัจจะสูงสุด
          เล่มสุดท้ายของคัณฑวยุหสูตร ได้กล่าวถึงคำปฏิญาณของสุธนะและความปรารถนาของเขาในการที่ประสงค์ไปเกิดในสุขาวดียุหภพ คำสปฏิญาณของสุธนะมีดังนี้
          1 ขอนับถือพระพุทธะ
          2 ขอให้ได้สรรเสริญพระตถาคต
          3 ขอให้ได้ถวายของแต่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
          4 ขอให้ได้ล้างบาปในอดีต
          5 ขอให้จงยินดีในบุญกรรม และความสุขของบุคคลอื่น
          6 ขอให้ได้อาราธนาพระพุทธเจ้าสั่งสอนธรรม
          7 ขอให้ได้อาราธานาพระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ในโลก
          8 ขอให้ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อสั่งสอนแก่บุคคลอื่น
          9 ขอให้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์
          10 ขอให้ได้บำเพ็ญต่อบุคคลอื่น (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)

4. ทศภูมิกสูตร 
           พระสูตรนี้ต้นฉบับเดิมที่เป็นภาษาสันสกฤตยังอยู่ครบสมบูรณ์ และมีฉบับแปล 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งแปลโดยท่านธรรมรักษ์ ซึ่งแปลในปี พ.ศ.840 และฉบับที่แปลโดยกุมารชีพ พระสูตรนี้ได้กล่าวถึงวัชรครรภะโพธิสัตว์ ได้บรรยายถึงข้อปฏิบัติ ที่จะทำให้บุคคลบรรลุความเป็นพระโพธิสัตว์ 10 ประการ คือ
          1 ปรมุทิตา ขั้นนี้พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานบารมี เฉลี่ยความสุขให้สรรพสัตว์
          2 วิมลา ขั้นนี้พระโพธิสัตว์บำเพ็ญศีลบารมี
          3 ปรภากวี ขั้นนี้พระโพธิสัตว์พิจารณาถึงสภาพอันแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย แสวงหาธรรมเพื่อ ช่วยสัตว์ผู้ประสบทุกข์ โดยปฏิบัติบันติบารมีธรรม
          4 อริสมติ ขั้นนี้พระโพธิสัตว์ ขจัดความคิดอันผิดๆให้หมดสิ้นไป บำเพ็ญวิริยบารมี
          5 สุทุรชย ขั้นนี้พระโพธิสัตว์มีความรู้สมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติธยานบารมี
          6 อภิมุกต ขั้นนี้พระโพธิสัตว์ เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มชัดในทฤษฎีปฏิจจสมุปบาท เป็นขั้น
แห่งปรัชญาหรือปัญญาบารมี
          7 ทุรงคม ขั้นนี้พระโพธิสัตว์ เกิดความชำนาญในอุบายวิธีต่างๆแห่งปัญญา
          8 อจล ขั้นนี้พระโพธิสัตว์อยู่ในสภาพที่ไม่เกิดและไม่ตาย เกิดในพุทธศาสนา ยังภูมิแห่งพุทธ ของตนให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติปรินามนบารมี
          9 ขั้นนี้พระโพธิสัตว์มีปรัชญาของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์เต็มที่สามารถสั่งสอนธรรม และปลุกสัตว์ให้ตื่นขึ้นจากอวิชชาเป็นขั้นที่บำเพ็ญพลบารมี
          10 ขั้นนี้พระโพธิสัตว์บรรลุขั้นสุดท้าย พระโพธิสัตว์มีอำนาจและลักษณะของพระพุทธทุกประการเป็นขั้นที่บำเพ็ญญาณบารมีธรรม           (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)

5 วิมลเกียรตินิทเทศสูตร
          ประวัติวิมลเกียตินิเทศสูตร พระสูตรนี้มีกำเนิดราวปลายพุทธศตวรรณที่ 5 เมื่อพระนาคารชุนรจนาอรรกถามหาปรัชญาปารมิตาสูตรก็ได้อ้างข้อความในวิมลเกียตินิเทสสูตรนี้หลายตอน เป็นที่น่าเสียดายว่า ต้นฉบัยสันสกฤตของพระสูตรนี้ ปัจจุบันหายสาบสูญค้นหาไม่พบแม้ในคัมภีร์ ศึกษาสมุจจัย ของพระสันติเทวะ (รจนาในราวพุทธศตวรรษที่ 13) ได้ยกข้อความในพระสูตรนี้มาอ้างไว้มากแห่ง ทำให้เราสามารถเห็นเค้าโครงพระสูตรนี้ในรูปสันสกฤต แต่ก็มิใช่พรสูตรนี้ทั้งสูตร อย่างไรก็ดี เป็นโชคดีของวรรณคดีพระพุทธศษสนามหายานที่ได้มีผู้แปลถ่ายทอดรักษาไว้ในพากย์จีนพากย์ธิเบตครั้งบุราณกาล เฉพาะวิมลเกียรตินิเทศสูตรในพากย์จีนแปลกันไว้ถึง 7 สำนวนด้วยกัน แต่เหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันเพียง 3 สำนวนเท่านั้น คือ
          1. ฉบับแปลของอุบาสกจีเหลียน ในพุทธศตวรรษที่ 7
          2. ฉบับแปลของพระกุมารชีพ ในพุทธศตวรรษที่ 9
          3. ฉบับแปลของพระสมณเฮี่ยงจัง ในพุทธศตวรรษที่ 11
( เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, ธ-น)
          พระสูตรนี้นิกายเซ็นชอบและนิยมเป็นที่สุด ในพากย์จีนมีอยู่หลายฉบับ แต่ปัจจุบันมีอยู่ 3 ฉบับ ในญี่ปุ่นมีอรรถกถาอธิบายความในพระสูตรนี้เกือบทุกนิกาย ความในพระสูตรนี้เล่าว่า
          ครั้งหนึ่ง วิมลเกียรติโพธิสัตว์ มิได้ไปร่วมประชุมเพราะป่วย พระพุทธองค์จึงสั่งให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายไปถามข่าวเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของวิมลเกียรติโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็อิดเอื้อนไม่อยากไป โดยอ้างเหตุว่า ตนเองมีค่าไม่สมควรจะไปให้คำแนะนำแก่วิมลเกียรติโพธิสัตว์ ตกลงพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เป็นผู้ไปและได้ถามถึงสุขภาพของวิมลเกียรติโพธิสัตว์ ท่านได้ตอบด้วยคำพูดที่น่าจับใจว่า "ความเจ็บไข้ของพระโพธิสัตว์เกิดจากมหากรุณา และมีอยู่ในเวลาที่สรรพสัตว์ยังคงมีอวิชชา เมื่อใดความป่วยของสรรพสัตว์หมดสิ้นไปแล้ว เมื่อนั้นความป่วยไข้ของข้าพเจ้าจะหมดไปด้วย ข้าพเจ้าป่วยก็เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายป่วย
          จุดเด่นของวิมลเกียรตินิทเทศสูตรอยู่ตรงที่ว่า การจะเป็นพระโพธิสัตว์และดำรงชีวิตตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นพระภิกษุ ใครๆก็อาจปฏิบัติได้เหมือนกันหมด พีชแห่งความเป็นพุทธอาจค้นพบได้ จนกระทั่งในชีวติแก่งตัณหา ความหมายอันแท้จริงของสูตรนี้ก็คือการค้นหาความเป็นพุทธในตัวเอง ซึ่งเต็มไปด้วยตัณหานานาประการให้พบแล้วทำตัวให้บริสุทธิ์

6. ศูรางคมสมาธิสูตร 
          พระสูตรนี้อ้างถึงความสำคัญของการบำเพ็ญสมาธิว่า เป็นมูลเหตุให้บรรลุการตรัสรู้ ความเป็นพระโพธิสัตว์และสัจธรรม ฉบับแปลมีถึง 9 ฉบับแต่สูญหายไปหมดแล้วเหลือเพียงฉบับเดียวที่กุมารชีพแปลเท่านั้น
          สุรางคมสมาธิสูตรได้กล่าวว่า พระสถิรมติโพธิสัตว์ได้เป็นผู้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระโพธิสัตว์ผุ้ปรารถนาชีวิตแห่งความเป็นพระโพธิสัตว์หากแต่ยังไม่ต้องการจะเข้าสู่นิรวาณควรจะปฏิบัติอย่างไรดี พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ควรบำเพ็ญสมาธิ(http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)

7. สัทธรรมปุณฑริกสูตร
          พระสูตรที่สำคัญพระสูตรหนึ่งซึ่งนิกายมหายานในจีนและญี่ปุ่นนับถือกันมาก ฉบับแปลภาษาจีนเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ฉบับ คือ
          1 ฉบับแปลของท่านธรรมรักษ์ แปลในปี พ.ศ.829
          2 ฉบับแปลของท่านกุมารชีพ แปลในปี พ.ศ.949
          3 ฉบับแปลของท่าจิสันคุปตะและท่านคุปตะ แปลในปี พ.ศ.1144
ฉบับแปลทั้ง 3 ถือว่าฉบับที่ท่านกุมารชีพแปลเป็นฉบับที่ดีที่สุด ใจความของพระสูตรโดยย่อมีว่า
          ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ ท่ามกลางพระภิกษุ พระโพธิสัตว์ เทวดาและสัตว์อื่นๆ เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจบแล้วก็เข้าสมาธิและแผ่รัศมีไปยังโลกทางทิศตะวันออก เมื่อพระองค์ออกจากสมาธิ ได้ตรัสบอกแก่พระสารีบุตรว่า เหตุที่พระองค์ทรงสั่งสอนสรรพสัตว์ด้วยอุบายวิธีต่างๆกัน เนื่องด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ที่มีต่อสรรพสัตว์ คำสั่งสอนอันแท้จริงของพระตถาคตนั้นมีเพื่อหนึ่งเดียวเท่านั้นคือเพื่อสรรพสัตว์ แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องบิดาได้ช่วยบุตร 3 คนออกจากเรือนแล้ว ก็ได้พบรถอันสวยงามคันหนึ่ง เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า พระตถาคนได้ช่วยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากไตรโลกอันเป็นเสมือนหนึ่งเรือนไฟไหม้ โดยอาศัยวิธีต่างๆสั่งสอน แต่จุดมุ่งหมายเป็นอันเดียวกันหมดคือเพื่อสรรพสัตว์
          ในบทที่ 25 ที่เรียกว่าสมันตมุขนั้น ได้กล่าวสรรเสริญพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ กล่าวถึงว่า การที่พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์มีกายถึง32 กาย ก็เพื่อประโยชน์ในการรับใช้สรรพสัตว์
          (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)
          http://www.mahayana.in.th/tmayana/สัทธรรมปุณฑรีกะ.html
          http://www.mahaparamita.com/Sutra/MiaoHuaLianHuaJingGuanYinPin.pdf

8. ศรีมาลาเทวีสูตร 
          ผู้แปลพระสูตรนี้คือ ท่านคุณภัทระ พ.ศ.863-1022 และท่านโพธิรุจิ พ.ศ.1051-1078 พระสูตรมีใจความว่า
          พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสพยากรณ์แห่งหญิงผู้หนึ่งคือ เจ้าหญิงศรีมาลาเทวีว่า "เมื่อเธอเข้าใจธรรมชาติอันแท้จริงของตถาคตแล้ว เธอจะตั้งบริสุทธิภูมิอันสูงสุดขึ้น" เมื่อได้ฟังคำพยากรณ์เช่นนี้ เจ้าหญิงศรีมาลาเทวีจึงได้ตั้งสัตย์ปฏิณาฯไว้ 10 ประการคือ
          1 จะไม่ล่วงละเมิดพระวินัย
          2 จะไม่เป็นคนหยิ่งยะโส
          3 จะไม่ขอโกรธเคืองกับใคร
          4 จะไม่เป็นคนอิจฉา
          5 จะไม่เป็นคนริษยา
          6 จะไม่รักใคร่สสารวัตถุใดๆ
          7 ขอปฏิบัติคุณธรรม 8 คือ ให้ทาน ปิยวาจา กระทำประโยชน์และร่วมมือกับบุคคลอื่น กับทั้งขอให้ได้ดำรงอยู่ในสภาพที่ไม่มีความเกาะเกี่ยวใดๆ
          8 ขอให้ได้ปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลายออกจากความทุกข์
          9 คัดค้านการล่วงละเมิดพระวินัย
          10 รักษาธรรม
นอกจากนี้ เจ้าหญิงศรีมาลาเทวียังได้กล่าวอธิบายว่า มีบุคคล 3 ประเภทเท่านั้นที่เข้าสู่วิถีของมหายาน
          1 บุคคลผู้บรรลุธรรมปัญญาอันลึกซึ้งโดยตนเอง
          2 บุคคลผู้ยังธรรมแห่งความเชื่อฟังให้สมบูรณ์
          3 บุคคลผู้ถึงแม้จะไม่เข้าใจปัญญาแต่เชื่อมั่นในพระตถาคต
          (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)
9. พรหมชาลสูตร 
          พระสูตรนี้ ท่านกุมารชีพ ได้แปลไว้ในปี พ.ศ.949 เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยวินัยของมหายานทุกนิกาย
วินัยของมหายานนั้น มีอยู่ 10 ประการคือ
          1 อย่าฆ่าสัตว์
          2 อย่าลักทรัพย์
          3 อย่าละเมิดบุตรภรรยาบุคคลอื่น
          4 อย่าพูดคำเท็จ
          5 อย่าดื่มน้ำเมา
          6 อย่ากล่าวคำผิดของบุคคลอื่น
          7 อย่าสรรเสริญตัวเอง
          8 อย่าเป็นคนอิจฉาริษยา
          9 อย่าเป็นคนอกตัญญู
          10 จงสรรเสริญพระไตรรัตน์
          พุทธบุตรต้องถือว่า ชายทุกคนเป็นเสมือนหนึ่งบิดาของเขา สตรีทุกคนเป็นมารดาของเขา เพราะว่าคนเหล่านี้ในอดีตเคยได้เป็นมารดาบิดาของตนมาแล้วถ้าหากว่าคนเหล่านี้ ก็เท่ากับฆ่ามารดาบิดาของตนเอง

10. สุขาวดีวยุหสูตร 
          ในยุคของท่านคุรุนาคารชุน มีแนวคิดเรื่องภพหน้าปรากฏในนิกายบริสุทธิภูมิ หรือกายสุขาวดี 3 ประการด้วยกัน คือ
          1 เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตของพระศรีอารย์
          2 เกิดในภูมิตะวันออกของพระอักโษภยะ
          3 เกิดในภูมิตะวันตกของพระอมิตาภะ
          มหาสุขาวดีวยุหสูตรนี้ ชีเกา กับ โลกักเษมะ ได้เป็นผู้นำเข้าสู่ประเทศจีนในราวพุทธศตวรรษที่ 7 ต่อจากนั้นมา ก็ได้มีการแปลออกเป็นพากษ์จีนหลายครั้ง กุมารชีพได้แปลไว้เมื่อปี พ.ศ.1008 เรียกชื่อว่า อนุสุขาวดีวยุหสุตร ท่างสิงหวรมัน ได้แปลไว้อีกในปี พ.ศ.1565
          ในคัมภีร์สุขาวดีวยุหสูตรเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้สนทนากับพระอานนท์ถึงเรื่องพระภิกษุธรรมการะว่า ต่อไปจะได้ตรัสรู้เป็นพระอมิตาภพุทธเจ้า พระภิกษุธรรมการะนี้ ได้ตั้งสัตย์ปฏิณาณไว้ว่า จะยังไม่ขอบรรลุความเป็นพระโพธิสัตว์ จนกว่าจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์หมดแล้วจึงจบรรลุ จึงได้ตั้งปริสุทธิภุมิหรือแดนสุขาวดีขึ้น เพื่อรับรองดวงวิญญาณของบุคคลผู้ที่จะไปเกิดในภพนี้ ผู้ที่จะไปเกิดในสุขาวดีภพได้ ต้องมีความเชื่อมั่นในพระอมิตาภพุทธเจ้า ในเวลาตายก็ให้ระลึกถึงชื่อของพระอมิตาภพุทธเจ้าไว้
          (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)
          http://mahaparamita.com/Sutra/WuLiangShouJueJing.pdf
          http://www.mahayana.in.th/tmayana/sukhavati.html
          http://www.mahaparamita.com/Sutra/WuLiangShouJueJing.pdf

11. ตถาคตครรภสูตร 

          พระสูตรนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า "มหาไพบูลยตถาคตครรภสูตร" มีผู้แปลออกสู่พากย์จีนเมื่อปี พ.ศ.893-974 คำว่า "ตถาคตครรภ" มีปรากฏอยู่ในทศภูมิกสูตรก่อน ในพระสูตรได้อธิบายไว้ว่าตถาคตครรภนั้นก็คือพุทธภาวะ กล่าวคือจิตของคนธรรมดานั้นแม้จะถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส แต่ภายในก็ยังมีภาวะเท่ากับพระตถาคตเจ้า และทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับโลกนี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาปรากฏให้เห็นนั้น ก็เพื่อจะให้สัตว์โลกทราบถึงข้อนี้ คือจะให้ทราบว่า สัตว์โลกมี "พีช"ของ "พุทธ"อยู่แล้ว
พระสูตรนี้แม้จะกล่าวว่า จิตมีความเป็นพุทธโดยกำเนิดแล้ว แต่ไม่ได้อธิบายถึงคุณลักษณะของตถาคตครรภ และตถาคตครรภนี้ มีความสัมพันธ์กับกิเลสอย่างไร รวมทั้งความสัมพันธ์กับการเวียนว่ายตายเกิดด้วย พระสูตรนี้จึงควรสันนิษฐานว่า เป็นพระสูตรแรก
(http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)

12. อสมปูรณอนุสูตร 
          พระสูตรนี้ไม่ทราบผู้ใดแปลสู่พากย์จีน ความในพระสูตรนี้ถือว่า สัตว์โลกย่อมเกิดดับอยู่ใน "ธรรมธาตุ" ขณะที่สัตว์โลกมีความหลงผิดอยู่ ก็ไม่มีอะไรเป็นการเพิ่ม ในขณะที่สัตว์โลกนั้น เห็นแจ้ง แล้วก็ไม่มีอะไรทีได้ลดหย่อนไป นีคือความหมายของคำว่า ไม่เพิ่มไม่หย่อน คือไม่มีการเพิ่มเติมหรือลดหย่อนในทางจิตที่กำลังหลงผิดอยู่หรือเห็นแจ้งอยู่
พระสูตรนี้สรุปว่า สัตว์โลกธาตุ คือตถาคตครรภ และตถาคตครรภ คือธรรมกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่สมบูรณ์โดยไม่มีอะไรเพิ่มและไม่มีอะไรหย่อนไป ฉะนั้นสัตว์โลกธาตุซึ่งมีธรรมกายนี้ เป็นภาวะแห่งปรมัถธรรม ไม่เกิด ไม่ดับ แต่เนื่องด้วยเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสัตว์โลกธาตุ จึงแสดงออกเป็นความหลงผิดหรือเป็นความเป็นแจ้งที่สัตว์โลกมีความหลงผิดหรือเห็นแจ้งนั้น เนื่องจาก
          1 ปรับจิตให้เข้ากับตถาคตครรภ ประกอบการที่เป็นวิสุทธิธรรม
          2 ไม่ปรับจิตให้เข้ากับตถาคตครรภ ประกอบการที่เป็นกิเลส
          (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)
13. มหาปรินิรวาณสูตร 
          พระสูตรนี้ท่านธรรมรักษ์ แปลไว้เมื่อปี พ.ศ.960 พระสูตรนี้ได้บรรยายถึงว่า แนวคิดของตถาคตครรภหรือพทธภาวะของพระสูตรต่างๆ ดังกล่าวล้วนแต่เป็นการค้นหาความสำเร็จในความเป็นพุทธ โดยสัญชาตญาณอันมีมาแต่เก่าก่อน ซึ่งเป็นการเริ่มจากตรรกวิทยาหรือจิตวิทยา ส่วนที่พระองค์ยังคงสถิตอยู่ ซึ่งถือว่าเอาพระธรรมของพระองค์เป็นการสถิตอยู่ของพระองค์นั้นทัศนะแบบนี้เป็นแต่เพียงการนำเอาพระธรรมของพระองค์ มาเป็นจุดที่จะให้ระลึกถึงบุคลิคของพระองค์เท่านั้น ไม่เป็นการเพียงพอสำหรับศาสนา ฉะนั้นพระสูตรนี้จึงถือเอาพระองค์ในประวัติศาสตร์เป็นพระองค์ที่ยังทรงสถิตอยู่
          พระสูตรนี้ ขยายความจากนิพพานของเถรวาทมารวมกับแนวคิดของมหายานที่แตกต่างกับพระสูตรอื่นนั้น ความจริงหลักธรรมเป็นแนวทางที่จะละความหลงไปสู่ความเห็นแจ้งเพื่อความหลุดพ้น แต่ความหลุดพ้นอันอาศัยการละความหลงไปสู่การเห็นแจ้งนั้น มีอยู่ทางเดี่ยว คือด้วยจิตของเรา ที่ว่าตถาคตครรภ พุทธจิต ธรรมกาย พุทธกายหรือนิพพานก็ตาม ล้วนเป็นการสังเกตุจากจิต
พระสูตรนี้ถือว่า การนิพพานของพระองค์ ไม่เป็นแง่ลบตามที่เคยเข้าใจกันแต่เป็นการแสดงออกของ "ความใหญ่ยิ่งของมหาอัตต" เป็นนิจจัง เป็นสุข เป็นวิสุทธิ แม้พระวรกายที่เราเห็นจะดับไปก็ตาม แต่พระวรกายที่แท้จริงยังคงมีอยู่ และพระวรกายที่แท้จริงนี้ มีอยู่เพื่อจะโปรดสัตว์ จึงได้บันดาลให้เกิดเป็นนิรมานกายและสัมโภคกาย
          จากแนวคิดพระวรกายยังสถิตย์อยู่ ดำเนินมาถึงพระวรกายในประวัติศาสตร์ก็ยังคงสถิตย์อยู่นั้น เริ่มด้วยสัทธรรมปุณฑริกสูตร ต่อด้วยพระสูตรนี้แล้วถูกขยายไปอีกในสุวรรณประภาสูตร
          พระสูตรนี้ เริ่มด้วยการถือว่า สัตว์โลกมีพุทธภาวะอยู่ทั้งสิ้น จบลงด้วยการถือว่า พระองค์ทรงสถิตย์อยู่เป็นนิตย์ เมื่อเช่นนี้ก็เป็นอันรับรองว่าสัตว์โลกจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ทั้งสิ้น ความจริงตามแนวคิดของสายตถาคตครรภ แม้จะยืนยันว่าสัตว์โลกบรรลุถึงพุทธภูมิได้ทั้งสิ้น แต่ก็มีข้อแม้ว่าประเภทอิจฉันติกะสำเร็จไม่ได้ แต่พระสูตรนี้รับรองว่าอิจฉันติกะก็จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด เพราะว่า อิจฉันติกะแม้จะไม่ประกอบกุศลกรรม แต่พุทธภาวะที่มีอยู่เป็นกุศลกรรม เมื่อมีพุทธภาวะย่อมต้องบรรลุในพุทธภาวะถึงพุทธภูมิได้ในวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน
          แนวคิดดังกล่าว แม้จะไม่ใช่สูตรนี้สร้างขึ้นทั้งหมด แต่เนื่องจากเป็นพระสูตรใหญ่จึงเป็นการสนับสนุนให้หลักธรรมเหล่านี้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนาในอินเดีย รวมทั้งมีอิทธิพลมากในจีนด้วย

14. สันธินิรโมจนสูตร 
           พระสูตรนี้เป็นพระสูตรเก่าแก่พระสูตรหนึ่ง ซี่งท่านเฮี่ยงจัง(พระถังซัมจั่ง)ได้แปลออกมา เป็นคัมภีร์หลักของนิกายธรรมลักษณ์
พระสูตรนี้ถือว่า สรรพธรรมในโลกธาตุ ล้วนเกิดจากจิต แต่จิตนี้ได้ให้กำเนิดแก่โลกได้อย่างใด โลกจึงมีสภาพเช่นนี้ ต่างไม่ได้อธิบายให้ชัด คงถือว่าเนื่องมาจากอวิชชา โลกอันเป็นควางหลงนี้จึงเกิดขึ้น หากจิตบริสุทธิ์สุขาวดีก็จะเกิดขึ้นเช่นกัน
           อวิชชานั้น ต่างถือว่าเป็น "มูลอวิชชา" ส่วนจิตที่บริสุทธิ์(สัทจิต) ต่างรับรองว่ามีพุทธภาวะอยู่และเป็นตถาคตครรภ เมื่อเช่นนี้ อวิชชากันสัทจิตมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และร่วมกันแสดงออกซึ่งโลกนี้ได้ด้วยประการใดยังไม่เป็นการอธิบายและที่สุด ก็เกิด "วิญญาณมาตรา"(ด้วยวิญญาณเท่านั้น) ขึ้น เพื่ออธิบายในเรื่องเหล่านี้
          หลักธรรมวิญญาณมาตรา สำเร็จด้วยพระอสังคะ พระวสุพันธุและพระคณาจารย์อีกหลายท่าน แต่มีรากฐานมาจากพระสูตรนี้ทั้งสิ้น พระสูตรนี้เป็นหลักธรรมของนิกายธรรมลักษณ์ หรือที่เรียกว่า นิกายโยคาจาร
          แนวคิดพิเศษของพระสูตรนี้ ได้แก่การเพิ่มวิญญาณ6 ให้เป็นวิญญาณ 8 คือเพิ่มอาลยวิญญาณ(วิญญาณที่ทำหน้าที่สะสม) หรืออทานวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 7 แต่ต่อมาได้ถือเอาอาลยวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 8 ส่วนอทานวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 7 และเปลี่ยนชื่อว่า มนัสวิญญาณซึ่งทำหน้าที่ยึดมั่นในความมีตัวตน
          พระสูตรนี้กล่าวคาถาในแรกเริ่มว่า "วิญญาณมีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง มีพีชะทั้งหลาย ไหลหลั่งอย่างกระแสน้ำเชี่ยว เราไม่แสดงต่อคนที่โง่เขลาเพราะเกรงว่าชนเหล่านั้น จะยึดวิญญาณนี้เป็นตัวตน(อัตตา) และได้อธิบายว่า ที่เรียกว่าอทานวิญญาณนั้น ก็เพราะวิญญาณนี้สามารถสะสมเก็บรักษาบรรดาพิชะได้ กล่าวคือ อาลยวิญญาณนั้น คือสภาพแห่งจิตอยู่ภายในมนัสวิญญาณ ไหลหลั่งเป็นกระแสเหมือนกระแสน้ำเป็นเหตุที่สร้างสรรพธรรมขึ้น และเก็บสะสมประสบการณ์ทั้งหลายไว้ เป็นหลักในการเวียนว่ายตายเกิดและก็เป็นหลักในการที่จะเห็นแจ้งด้วย
          พระสูตรนี้ได้สร้าง "ไตรลักษณ์" ขึ้น เป็นการแยกสรรพธรรมทั้งหลายเป็น 3 ประเภท
          ปริกัลปปิตะลักษณะ(ภาพที่เห็นตามความหลงผิด) คือความหลงผิด ความเผลอ หรือสัญญาวิปลาสเห็นผิดไปจากความจริง เช่นเห็นเชือกเป็นงู แล้วก็หวั่นกลัวไปเอง
          ปรตันตรลักษณะ(ภาพที่เห็นตามที่เกิดขึ้น เป็นการเห็นในสิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นความรู้ทั่วไปหรือความรู้ทางวิทยศาสตร์ เช่นเห็นเชือกเป็นเชือกและรู้ว่าเชือกนั้นทำด้วยอะไร
          ปรินิษปันลักษณะ(ความที่เห็นตามความสมบูรณ์ที่แท้จริง) เป็นการเห็นตามตถตา(เป็นเช่นนั้น) เป็นสมภาค(เสมอภาค)

          การแยกประเภทดังนี้ ก็คือการเห็นที่เป็นความเท็จกับการเห็นที่เป็นความจริงเท่านั้น
          ลักษณะทั้ง 3 นี้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด ย่อมปราศจากจิตไม่ได้ ลักษณะอันเกิดจากการยึดผิด เป็นอาเวคภาค(ภาพภายนอก)ของจริง ไม่มีภาวะที่แท้จริงลักษณะที่เกิดจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่เกิดจากจิต ไม่มีภาวะที่แท้จริง ส่วนลักษณะอันเป็นตถตา ก็เป็นสิ่งที่มีเหตุปัจจัยอันเกิดจากสัทจิตปราศจากจิตแล้วต่างไม่มีภาวะแท้จริงแห่งตน ฉะนั้น หลักธรรมของนิกายวิญญาณมาตรานี้ ก็มีสูญเป็นที่สุดเช่นกัน
          อริยสัจ 4 ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ในแรกเริ่มนั้น เป็นหลักธรรมของสาวกยาน เป็นสูตรประเภทปริยายธรรม คือการแสดงธรรมโดยทางอ้อม ยังไม่สิ้นเนื้อหาของธรรมต่อมาพระองค์ ได้แสดงถึงสรรพธรรมปราศจากภาวะแห่งตน ไม่มีการเกิดดับ มีความสงบแต่แรกเริ่ม เป็นนิพพานโดยภาวะแห่งตนเพื่อประทานแก่บรรดาโพธิสัตว์ แต่ก็ยังไม่สิ้น ขอบเขตของพระธรรม สูตรนี้ได้ปรรยายถึงลักษณะ 3 และการปราศจากภาวะแห่งตน เป็นการแสดงธรรมแก่ยานทั้ง 3 เป็นเจตจำนงของพระองค์อย่างสมบูรณ์ สูตรนี้เป็นสูตรล่าสูตรของมหายาน และปรากฏขึ้นในฐานะเป็นวิญญาณมาตรานิกาย อันเป็นนิกายใหม่ ไม่รวม 3 ยาน อย่างที่ สัทธรรมปุณฑริกสูตร แต่กลับแยกเป็น 3 ยาน สูตรนี้มาในรูปที่ควรเป็นศาสตร์มากกว่าที่จะเป็นสูตร           (http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)

15. ลังกาวตารสูตร 
          ลังกาวตารสูตร เป็นพระคัมภีร์หลัก (Text) ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นหนึ่งในเก้าคัมภีร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ สำคัญที่เรียกว่าสูตร สูตรหนึ่งนั้นมิใช่สั้นๆ เช่นที่เราเข้าใจกัน แต่เป็นหนังสือเล่มขนาดใหญ่หรือคัมภีร์หนึ่งนั่นเอง ลังกาวตารสูตรพิมพ์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อ ค.ศ. 1922 โดยท่าน Bunyin Nangio. M.A. (oxon) D. Litt.Kvoto. สูตรนี้แปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.433 โดยท่านคุณภัทระ แห่งอินเดีย เป็นครั้งที่สองเมื่อ ค.ศ. 513โดยท่านโพธิ รุจิ แห่งอินเดีย และครั้งที่สามเมื่อ ค.ศ. 700 โดยท่านศึกษานันทะ แห่งอินเดียเหมือนกัน เป็นสูตรว่าด้วยศึกษาธรรมล้วน
           ภาคที่แปดแห่งลังกาวตารสูตรนี้ กล่าวถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์โดยเฉพาะ เรียกว่า ภาคมางสภักษนปริวรรต จากข้อความในภาคนี้ ย่อมเป็นการพิสูจน์ไว้อย่างเต็มที่ว่า สาวกในพระพุทธศาสนา จะเป็นบรรพชิตหรือฆราวาสก็ตาม จะไม่ รับประทาน เนื้อปลา หรือเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเลย ต่อไปนี้เป็นข้อความบางตอน ซึ่งตัดตอนมาจากข้อความในภาคนั้น โดยเห็นว่าพวกเราแม้เป็นฝ่ายเถรวาท (หินยาน) ก็ควรได้อ่านฟังกันไว้บ้าง เป็นการประกอบการศึกษาเรื่องนี้ด้วยใจอันเป็นอิสระ ข้อความในพระสูตรนั้นมีดังนี้
          "พระตถาคตเจ้าผู้ทรงอรหันต์ ได้ตรัสรู้อย่างถูกถ้วนแล้ว และได้ตรัสความเป็นกุศลหรืออกุศลแห่งการ บริโภคเนื้อสัตว์แก่เรา เพื่อว่าเราและสาวกอื่นๆ ในพระพุทธศาสนาในปัจจุบันและอนาคต จะได้ประกาศสัจธรรมอันนี้แก่เขาเหล่าโน้น ผู้บริโภคเนื้อสัตว์เพื่อเป็นการทำลายความอยากในเนื้อสัตว์ของเขาเหล่านั้นๆ เสีย"
          (http://www.skn.ac.th/skl/project/budis79/test.htm)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์