วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันประสูติพระโพธิสัตว์กวนอิม 观音菩萨 (กวนอินผูซ่า)

เพิ่มคำอธิบายภาพ


Om mani padme hum  
ॐ मणि पद्मे हूँ
โอม มณี ปัท เม ฮุม (Om Mani Padme Hum)
วันประสูติพระโพธิสัตว์กวนอิม 观音菩萨 (กวนอินผูซ่า)
  • วันประสูติพระโพธิสัตว์กวนอิม 观音菩萨 (กวนอินผูซ่า) ตามปฏิทินจันทรคติจีน 19 เดือน 2 十九日 二月 ตรงกับวันที่16มีนาคม 2560 เจ้าแม่กวนอิม 观世音 กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง (จีน: 觀音; พินอิน: Guān Yīn; อังกฤษ: Guan Yin) 
  • พระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต 
  • ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
  • ดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง 
  • เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวร นั้นสามารถแบ่งภาค เพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี 
  • และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายาน ที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ 
  • อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" 
  • “เจ้าแม่กวนอิม” (观世音、观音) เป็นพระโพธิสัตว์ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่มีผู้รู้จักและศรัทธามากที่สุด เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการกราบไหว้บูชาจากชาวจีนทั่วทุกมุมโลก และแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางในทุก ๆ ที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ 
  • ในคตินิยมทางสัญลักษณ์วัฒนธรรมมงคลของจีน องค์เจ้าแม่กวนอิม คือ พระผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาต่อสรรพสัตว์ 
  • เป็นพระผู้เปี่ยมด้วยความกตัญญู และเป็นสัญลักษณ์แห่งเมตตามหาการุณย์ เพื่อโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงทุกข์ 
  • ดังคำปณิธานของพระองค์ที่ว่า “หากยังมีสัตว์ตกทุกข์ได้ยากอยู่ ก็จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ” 
  • อักษรคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในภาษาจีนเรียกว่า “ผูซ่า (菩萨)” ส่วนในสำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ผ่อสัก” 
  • ดังนั้น พระนามของเจ้าแม่กวนอิมจึงมีอยู่ด้วยกันหลายชื่อ ส่วนใหญ่แล้วในสำเนียงจีนกลางจะนิยมเรียกว่า “กวนอินผูซ่า(观音菩萨)” หรือ “กวนซื่ออินผูซ่า (观世音菩萨)” 
  • นอกจากนี้ ยังมีอีกบางชื่อที่มีเรียกกัน ได้แก่ “กวนจื้อไจ้ผูซ่า(观自在菩萨)” และ “กวงซื่ออินผูซ่า(光世音菩萨)” 
  • แต่กระนั้นก็ตาม สำหรับชาวไทยแล้วจะเรียก เจ้าแม่กวนอิม หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม 
  • เดิมทีนั้นพระนามเดิม ที่เรียกเจ้าแม่กวนอิมจะเรียกว่า “กวนซื่ออิน หรือ กวนซีอิมในภาษาจีนแต้จิ๋ว (观世音)” 
  • แต่เนื่องจากในสมัยราชวงศ์ถัง อักษรคำว่า “ซื่อ世” ตรงกับชื่อเดิมของถังไท้จงฮ่องเต้ คือ หลี่ซื่อหมิน(李世民)
  • จึงได้เลี่ยงมาเรียกย่อ ๆ ว่า “กวนอินหรือกวนอิมในภาษาจีนแต้จิ๋ว观音” 
  • ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่แพร่หลายในจีน , ญี่ปุ่น ,เกาหลี คำว่า “พระโพธิสัตว์(菩萨)” คิอ ผู้ซึ่งตั้งจิตแน่วแน่ในการบำเพ็ญเพียร เพื่อที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต 
  • จึงมีการสร้างสมบุญบารมี เพื่อโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์และเรียกกันว่า “พระโพธิสัตว์” 
  • คติเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์นี้มาจากลัทธิมหายาน ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เรียกกันในสันสกฤตว่า “พระอวโลกิเตศวร (Avalokitesvara) ซึ่งแปลว่า “ พระผู้เฝ้ามองดูด้วยความเมตตากรุณา” หรือ “พระผู้ทรงสดับฟังเสียงร้องไห้ของสัตว์โลก” 
  • ดังนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ของอินเดียนั้น ก็คือองค์เดียวกันกับ “พระกวนอิมโพธิสัตว์” หรือ “เจ้าแม่กวนอิม” 
  • พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือด้วยความซาบซึ้งในน้ำพระทัยแห่งมหาการุณย์ ที่พระองค์ทรงโปรดสัตว์ทั่วทั้งไตรภูมิ ให้พ้นจากกองทุกข์ 
  • ในตำนานพื้นบ้านของจีน สันนิษฐานว่าอาจมีเรื่องเล่าขานกันมาตั้งแต่ราชวงศ์ซ่งเหนือ (เป่นซ่ง) นั้นคือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (พระกวนอิมโพธิสัตว์)
  • ในชาติสุดท้ายนั้นมีพระนามเดิมว่า “เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน” ทรงจุติเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 3 ของพระเจ้าเมี่ยวจวง หรือเมี่ยวจวงหวัง (妙庄王)กษัตริย์ผู้โหดร้ายทารุณ ต่อไพรฟ้า ข้าแผ่นดิน พระองค์ทรงมีพระราชธิดาสามพระองค์ได้แก่ 
    • เจ้าหญิงเมี่ยวอิน (妙因公主)
    • เจ้าหญิงเมี่ยวเอวี๋ยน (妙缘公主)
    • และเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน (妙善公主) 

  • ครั้นเมื่อพระราชธิดาทั้ง 3 เจริญพระชันษาพร้อมที่จะออกเรือน องค์หญิงเมี่ยวอิน และองค์หญิงเมี่ยวเอวี๋ยน ต่างปรารถนาที่จะเข้าสู่พิธีวิวาห์ 
  • คงมีแต่องค์หญิงเมี่ยวซ่านที่ไม่พึงปรารถนาในสิ่งใด ๆ นอกเหนือไปจากพระเมตตา ที่ทรงการุณย์ช่วยเหลือสรรพสัตว์ 
  • ทรงถือศีลกินเจ และเรียนรู้ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ทำให้พระราชบิดากริ้วโกรธที่ขัดพระทัย 
  • จึงลงโทษทัณฑ์ทรมานพระธิดาเมี่ยวซ่าน นานัปการ จงถึงขั้นสั่งประหารชีวิต แต่กระนั้นก็ไม่อาจกระทำสิ่งใดระคายเคืองพระธิดาเมี่ยวซ่านได้ 
  • ต่อมา เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ได้ถวายตนเป็นพุทธมามกะและทรงหนีออกจากวัง เพื่อออกบวช จากนั้นจึงได้มุ่งมั่นประกอบคุณงามความดีและบำเพ็ญศีลภาวนา 
  • ในเวลาต่อมา พระเจ้าเมี่ยวจวง ต้องประสบเคราะห์กรรมที่ได้ทรงกระทำไว้ ทำให้ทรงป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ไม่มีตัวยาใดรักษาได้ 
  • นอกจากพระโอสถที่ต้องปรุงจากดวงตา และแขนของผู้ที่เป็นทายาทเท่านั้น 
  • ซึ่งพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ไม่มีผู้ใดยินยอมกระทำเช่นนั้น เมื่อข่าวนี้ล่วงรู้ถึงเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน 
  • พระองค์จึงหวนกลับเข้าวัง และให้อภัยต่อการกระทำของพระบิดา และทรงกระทำในสิ่งที่ไม่มีผู้ใดกล้ากระทำนั้นคือ ทรงยอมสละดวงตาทั้งสอง และแขนทั้งสองข้าง 
  • เพื่อใช้ปรุงเป็นพระโอสถรักษาพระบิดา จนกระทั้งพระเจ้าเมี่ยวจวง ฟื้นคืนเป็นปกติ 
  • กล่าวกันว่า ความกตัญญูของเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน สร้างความตื้นตันให้แก่โลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ 
  • เมื่อพระองค์ทรงบรรลุมรรคผล เป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม องค์ศากยมุณี (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) จึงประธานคืนดวงตาพันดวง และแขนพันข้างแก่พระองค์ อันเป็นที่มาของปางปาฏิหาริย์ที่เรียกว่า “เจ้าแม่กวนอิมพันเนตร(千手千眼观音)”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์