วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

อรหันตสาวก และอรหันตโพธิสัตว์



ความแตกต่างของอรหันตสาวก และอรหันตโพธิสัตว์


  • พระอรหันต์ คือ ผู้มีปัญญาแจ้งแล้วว่าทางหลุดพ้นทุกข์ที่แท้จริงมีอยู่ สัมผัสได้ และเข้าถึงได้ และตนสามารถทำได้ แต่ไม่ได้แปลว่าเมื่อบรรลุอรหันต์แล้วจะหมดทุกข์ไปทันทีแท้จริง ทุกข์ทางใจหมดได้จริง แต่ทุกข์ทางกายยังมีอยู่ ตราบที่ยังมีขันธ์ห้าครอง ความไม่เที่ยงยังมีอยู่ 
  • ดังนั้น ระหว่างที่ยังมีกายสังขาร จึงยังต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโลกมนุษย์อย่างระมัดระวัง ประคองตนไม่ให้แปดเปื้อนกรรมกับมนุษย์โลกทั้งหลายมากเกินไป 
  • อรหันต์มีสองแบบ คือ อรหันตสาวก และอรหันตโพธิสัตว์ หลายท่านไม่เข้าใจและถกเถียงกันมาก 
  • และไม่ยอมรับว่ามี “อรหันตโพธิสัตว์” อยู่จริงๆ บทความฉบับนี้จะขออธิบายให้ละเอียดลงไปถึงความแตกต่างของพระอรหันต์ทั้งสองประเภทนี้ ดังต่อไปนี้
  • อรหันตสาวก : เป็นผู้ตาม หรือผู้น้อย
  • มักทำตัวเป็นผู้น้อย ถ่อมตน และหลบเลี่ยงการก่อกรรม หลบเลี่ยงการเข้าสังคมมนุษย์ปลีกวิเวกห่างๆ อยู่อย่างสงบสันโดษ หมดเรื่องก็ปลีกตัวถอยไป ไม่อยากเด่นดัง เกรงภัยอันตรายอันเกิดจากกรรมต่างๆ
  • อรหันตโพธิสัตว์ : เป็นผู้นำ หรือผู้นำทางจิตวิญญาณ
  • มักทำตัวเป็นผู้นำ สามารถนำจิตใจคนได้
  • เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของคนทั่วไป มีบริวารและสานุศิษย์มาก กล้าคิดกล้าตัดสินใจ กล้าออกหน้า กล้าเปิดเผยต่อสังคมวงกว้าง ไม่เกรงกลัวภัยกรรม
  • อรหันตสาวก: มักหลีกเร้นมากกว่าเข้าหาสังคม
  • มักไม่นิยมอยู่เกลือกกลั้วกับคนหมู่มาก นิยมอยู่อย่างวิเวกระวังภัยกรรม ไม่นิยมเข้าหาสังคม เพราะเห็นว่าสังคมโลกมนุษย์มีการก่อกรรมกันมาก หากคลุกคลีมากเขาก็จะชวนไปก่อกรรมต่างๆ จึงหลีกเร้นไป
  • อรหันตโพธิสัตว์ : มักอยู่ในวงล้อมของมวลสัตว์
  • มักอยู่ท่ามกลางสังคมของมนุษย์ มีบริวารมากมายห้อมล้อม และนิยมยินดีช่วยเหลือเหล่ามนุษย์ แม้รู้ว่าไม่สามารถสอนให้ถึงนิพพานได้ ไม่เกรงกลัวกรรม ไม่กลัวเปื้อนกรรม ยอมเกลือกกลั้วกับมนุษย์ที่มีกรรม
  • อรหันตสาวก: มักไม่มีใครรู้จักไม่เด่นไม่ดัง
  • มื่อบรรลุธรรมแล้วไม่ยึดติด ละทิ้งความสูงส่งและลาภยศ จึงดูธรรมดาและไม่เด่น ไม่ดัง พระอรหันต์รูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล บรรลุธรรมแล้วตัวเล็กถูกลูบหัวเล่นทุกวัน จนพระพุทธเจ้าต้องหาอุบายให้หมู่สงฆ์เข้าใจว่าบรรลุธรรมแล้วด้วยการให้พระอรหันต์มาประชุมกัน ท่านไม่มาก็รอจนกว่าท่านจะมา ถึงตรัสบอกว่าครบทุกองค์แล้
  • อรหันตโพธิสัตว์ : มักมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเด่นดัง
  • เพราะบุญบารมีทำมามากแต่หนหลัง พระโพธิสัตว์เมื่อบรรลุธรรมแล้วเปล่งประกาย เป็นที่รู้จักและสังเกตง่ายว่ามีความพิเศษในตัวมากมาย และมักเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธบริษัทจำนวนมาก อาทิเช่น พระมหากัจจายนะ ที่งามโดดเด่นมากจนต้องอธิษฐานให้ตนเองอ้วนลงพุงในที่สุด เพื่ออยู่อย่างสงบ ปลอดการรบกวนของคน
  • อรหันตสาวก : อนุรักษ์นิยมและไม่กล้าออกนอกแถว
  • ไม่นิยมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพราะอนุรักษ์นิยม 
    • ไม่กล้าทำสิ่งที่ไม่บัญญัติไว้ 
    • ไม่กล้าฝ่าฝืนบัญญัติเดิมของพระพุทธเจ้า เพราะเกรงว่าจะเป็นกรรมมากจนขวางนิพพานได้ นิยมทำตามคำสอนเดิมๆ ไม่มีสิ่งใดแปลกใหม่ จึงไม่ค่อยดึงดูด คนส่วนมากไม่สนใจ เฉพาะผู้มีบุญสัมพันธ์กันจึงจะมาสนใจ
  • อรหันตโพธิสัตว์ : พัฒนานิยมและกล้าแปลกแหลกแน
  • นิยมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นตามความเหมาะสมของยุคสมัยเพื่อโปรดมวลสัตว์ โดยไม่เกรงกลัวต่อกรรมว่าจะส่งผลให้เกิดใหม่อีกจึงกล้าพัฒนา, เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นและทันยุคสมัย อาทิเช่น กรรมฐานแนวใหม่ๆ การปกครองหมู่สงฆ์แบบใหม่ การแก้ไขศีล และผ่อนปรนศีล
  • อรหันตสาวก : ไม่กล้าผิดศีล ปล่อยสัตว์ไปตามกรรม
  • แม้มวลสัตว์จะได้รับความทุกข์ยากถึงขั้นตาย ก็จะพิจารณาว่าเป็นไปตามธรรมชาติ ตามกรรม ไม่ฝืนธรรมชาติ ไม่ฝืนกรรม ทุกอย่างเป็นเช่นนั้นเอง จึงไม่ไปช่วยเหลือ หรือแก้ไขใดๆ ปล่อยให้มวลสัตว์รับกรรมไปตามกรรม ตามธรรมชาติ ไม่ยอมผิดศีล
  • อรหันตโพธิสัตว์ : กล้าผิดศีลเพื่อช่วยสรรพสัตว์
  • หากเห็นมวลสัตว์ได้รับความทุกข์ยาก ก็ยินดีที่จะฝ่าฝืนศีล ผิดศีล และก่อกรรมจนไม่ได้นิพพาน ต้องเกิดใหม่เพื่อชดใช้กรรม ทั้งนี้ เพื่อช่วยมวลสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ต่างๆ จึงกล้าผิดศีลเพื่อช่วยมวลสัตว์ แม้รู้ว่าเป็นเหตุให้ตนเองไม่นิพพานก็ตาม
  • อรหันตสาวก : มักมีบุญและกรรมน้อย
  • อาจบิณฑบาตได้น้อย ได้ลาภสักการะน้อย ได้มรรคผลน้อย แต่ก็มีกรรมน้อยด้วย มีคนรบกวนน้อย แต่ก็ไม่ค่อยมีมารและอสูรมาก่อกวน เพราะไม่ได้บำเพ็ญบารมีมามากนัก จึงไม่ค่อยมีทั้งบุญและกรรมและบารมี
  • อรหันตโพธิสัตว์ : มักมีทั้งบุญและกรรมมาก
  • มักได้ลาภสักการะและมรรคผลมาก แต่มีเรื่องราวกับมารและอสูรมาก มีผู้ก่อกวนและต้องชำระชดใช้กันมาก เนื่องจากได้บำเพ็ญบุญบารมีมา จึงมีเจ้ากรรมนายเวรมาก มีกรรมต้องชำระสะสางมากกว่าสาวก
  • อรหันตสาวก : มักมีอดีตชาติเป็นคนธรรมดา
  • พระอรหันตสาวก มักไม่มีอดีตชาติเป็นพระราชา มักเป็นคนธรรมดา ที่ผ่านทุกข์สุขมามากมาย ทำบุญแล้วขอนิพพานในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์นั้นๆ
  • อรหันตโพธิสัตว์ : มักมีอดีตชาติเป็นพระราชา
  • พระอรหันตโพธิสัตว์ มักมีอดีตชาติเป็นพระราชา, เจ้าเมืองในยุคสมัยและดินแดนต่างๆ มากกว่าพรอรหันตสาวก เพราะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำเพ็ญบารมี
  • อรหันตสาวก : มีบริวารและสานุศิษย์น้อย
  • เนื่องจากไม่ได้บำเพ็ญบารมี แบบโพธิสัตว์ จึงไม่ค่อยมีบริวารและสานุศิษย์ มักมีลูกศิษย์ที่บรรลุตามกันเป็นสายตกทอดไม่มากนัก เฉพาะเท่าที่ได้เคยเกื้อหนุนกันมาก่อน
  • อรหันตโพธิสัตว์ : มีบริวารและสานุศิษย์มาก
  • เพราะบำเพ็ญบารมีมามาก มีบริวารเก่ามาก บางท่านมีบริวารน้อยก็จริง แต่บริวารเป็นเจ้าคนนายคนใหญ่โต อย่างนี้ก็จัดเข้าข่ายลักษณะของอรหันตโพธิสัตว์เหมือนกัน
  • อรหันตสาวก : ละสังขารแล้วนิพพาน
  • พระอรหันตสาวก ละสังขารแล้วนิพพาน ไม่เหลือความปรารถนาใดๆ ที่จะเกิดอีก
  • อรหันตโพธิสัตว์ : ละสังขารแล้วไม่นิพพาน
  • พระอรหันตโพธิสัตว์ ละสังขารแล้วเกิดได้อีก ยังมีความปรารถนาพุทธภูมิเหลืออยู่
  • พระพุทธเจ้าทรงสอนมวลสัตว์ทั้ง นิพพานและการบำเพ็ญบารมี ดังนั้น จึงมีแนวทางคำสอนที่แตกต่างกัน และกลายเป็นนิกายใหญ่สองนิกายจนถึงปัจจุบันนี้ 
  • จะกล่าวว่าไม่มีอรหันตโพธิสัตว์จริงๆ แล้วจะมีนิกายทั้งสองมาถึงทุกวันนี้ได้อย่างไร 
  • แล้วเหตุใดผู้คนมากมายบนโลกนี้ จึงยังเชื่อถือเรื่องพระโพธิสัตว์และมหายานกันอยู่ 
  • ขอให้เปิดใจกว้างเถิด พระพุทธเจ้าทรงสอนมวลสัตว์ที่มีวิสัยแตกต่างกันอย่างมากได้ทั้งสองประเภท คือ 
    • ประเภทที่เป็นผู้ตาม และประเภทที่เป็นผู้นำมีจิตกล้าแข็งจนไม่ยอมบรรลุนิพพานเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะตนก็ปรารถนาจะเป็นอย่างพระพุทธเจ้า นั่นเอง 
    • ทั้งสองประเภทนี้ ล้วนปฏิบัติธรรมจนเกิดปัญญาเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้อย่างแท้จริงทั้งคู่ 
    • คือ บรรลุอรหันต์ได้ทั้งสองประเภท แต่เมื่อบรรลุแล้วจะแตกต่างกันทั้งความคิด, การกระทำ, การเป็นที่ยอมรับ, การดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่ และการนิพพานหรือไม่นิพพานในท้ายที่สุด
  • หากเข้าใจแน่ชัดว่า “อะไรคือการบรรลุธรรม” และ “อะไรคืออรหันต์” 
  • ไม่ยึดมั่นถือมั่นสุดโต่งว่า พระอรหันต์มีประเภทเดียว คือ อรหันตสาวกที่ละสังขารแล้วต้องนิพพานอย่างเดียว ก็จะเห็นสิ่งต่างๆ ได้กว้างขวางขึ้น 
  • บทความฉบับนี้พยายามจะกล่าวถึง อรหันตโพธิสัตว์ โดยไม่คิดทำลายหรือลบล้างความเชื่อของอรหันตสาวกเลย 
  • ยังคงเชื่อและยืนยันอย่างเดิมตามหลักเถรวาทว่า “พระอรหันตสาวก ละสังขารแล้วนิพพาน”
  • แต่ก็อยากให้ท่านทั้งหลายเปิดใจด้วยว่า ยังมีพระอรหันต์อีกประเภทที่ตายแล้วไม่นิพพาน แต่เกิดใหม่อีก 
  • เพราะการบรรลุอรหันต์ เป็นการแจ้งด้วยปัญญา เมื่อแจ้งด้วยปัญญาแล้วก็ถือว่าอรหันต์ 
  • ไม่ได้แปลว่า “นิพพานแล้วทันทีที่บรรลุธรรม” ก็หาไม่ 
  • การที่บุคคลจะนิพพานนั้น ต้องขันธ์ห้าดับลงก่อนจึงจะทำการ “ดับขันธปรินิพพาน” ได้ 
  • ดังนั้น ผู้บรรลุอรหันต์จึงยังไม่ได้นิพพานในทันทีที่บรรลุ แต่ยังต้องครองสังขาร ขันธ์ห้าต่อไป จนกว่าขันธ์ห้าจะดับลงจึงจะได้ถึงนิพพานได้ 
  • ระหว่างครองขันธ์ห้าอยู่นั้น ยังต้องมีชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาทในกรรม ต้องระวังกรรม ต้องอาศัย “พระธรรมวินัย” เป็นเครื่องปกป้องตนเองจากกรรม 
  • จะทำอะไรตามอำเภอใจก็ได้ แต่อาจเกิดกรรมใหม่จนไม่ได้นิพพานก็ได้ 
  • ดังนั้น พระธรรมวินัยจึงมีค่ามากสำหรับอรหันตสาวกที่ปรารถนานิพพานจริงๆ 
  • แต่สำหรับอรหันตโพธิสัตว์แล้วแตกต่างกันสิ้นเชิง จึงไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดธรรมวินัยมาก และยังสามารถเกิดได้อีก ยังไม่นิพพาน 
  • ปัจจุบันอรหันตสาวกไม่มีแล้ว จึงไม่มีผู้ได้ถึงนิพพานจริง มีแต่อรหันตโพธิสัตว์ ที่ลงมาบำเพ็ญบารมีกัน ขอให้ลองพิจารณาดูอีกครั้งโดยแยบคายเถิด
โลกยิ่งทันสมัย ไฮเทค แค่ไหน
พระโพธิสัตว์ ก็ต้องไฮเทค ตามสมัยเท่านั่น
ไม่งั้น ไม่ทันจริต สัตว์
"เราจะปกป้องโลกเอง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์