วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

ตำนานแม่กาเผือก


ตำนานแม่กาเผือก

  • กาขาวกับกาเผือกคงเป็นตัวเดียวกันครับ สมัย ต้นปฐมกัป มีพญากาเผือกสองตัวผัวเมีย ทำรังอยู่ที่ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำคงคาอันเป็นธรรมชาติสถาน รื่นรมย์ 
  • ในเวลาต่อมาต่อมา พระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิสนธิเกิดในครรภ์แม่พญากาเผือก พร้อมกันถึง ๕ พระองค์ เมื่อครบทศมาส แม่กาเผือกก็ออกไข่ ณ ที่รังต้นมะเดื่อ จำนวน ๕ ฟองและคอยเฝ้า ดูแลรักษาไข่ด้วยความทะนุถนอมเป็นอย่างดี 
  • อยู่มาวัน หนึ่ง พญากาเผือกออกไปหากินถิ่นแดนไกลไปถึงสถานที่แห่งหนึ่งอันสมบูรณ์ ด้วยธรรมชาติ แม่กาเผือกเพลินหากินอาหาร ชื่นชมกับธรรมชาติจนมืดค่ำ 
  • เกิดลมพายุใหญ่พัดกระหน่ำมืดครึ้มทั่วไปหมด ทำให้หาหนทางออกไม่ถูก จึงหลงอยู่ในบริเวณสถานที่นั้น แม่กาเผือกได้อยู่ที่เวียงกาหลง คืนหนึ่ง จนเช้าจึงรีบถลาบินกลับที่พัก 
  • แต่ปรากฏว่ากิ่งไม้มะเดื่อที่ทำรังอยู่ ถูกลมพายุใหญ่พัดหักล้มลงไปในแม่น้ำ แม่กาเผือกตกใจรีบบินถลาหาลูกที่ยังอยู่ในไข่ แต่หาเท่าไรก็ไม่พบ ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ 
  • ในที่สุดก็สิ้นใจตายอย่างน่าสงสาร แต่ด้วย อานิสงส์ที่มีความเมตตารักลูกอันบริสุทธิ์ กับทั้งที่ลูกของแม่กา เผือกเป็นพระโพธิสัตว์ถึง ๕ พระองค์ จึงเป็นกุศลหนุนส่งให้แม่กาเผือกไปจุติยังแดนพรหมโลกชั้นสุทธาวาส 
  • ได้พระนามว่า “ฆติกามหาพรหม” จักได้เป็นผู้ถวาย อัฏฐะบริขาร บวชแก่ลูกทั้ง ๕ พระองค์ เมื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
  • ส่วนไข่ทั้ง ๕ ถูกลมพัดตกน้ำไหลไปในสถานที่ต่าง ๆ

 


    • ไข่ฟองที่ ๑ แม่ไก่เก็บไปดูแลรักษา
    • ไข่ฟองที่ ๒ แม่นาคราชเก็บไปดูแลรักษา
    • ไข่ฟอง ที่ ๓ แม่เต่า เก็บไปดูแลรักษา
    • ไข่ฟองที่ ๔ แม่โคเก็บไปดูแลรักษา
    • ไข่ฟองที่ ๕ แม่ราชสีห์เก็บไปดูแลรักษา


  • ครั้น ในกาลเวลาต่อมา พระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ ปรากฏเป็นมนุษย์บุรุษรูปงามทั้ง ๕ พระองค์ และเจริญเติบโตอยู่กับแม่เลี้ยงด้วยความกตัญญู รู้จักหน้าที่ ทดแทนบุญคุณจนถึงอายุได้ ๑๒ ปี 
  • ด้วยบุญกุศลเก่าหนุนส่งก็มีจิตคิดที่จะออกบวชบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี เป็นฤาษีอยู่ในป่า จึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนเหมือนกันทั้ง ๕ พระองค์ ฝ่ายแม่เลี้ยงก็ไม่ขัดความประสงค์ อนุญาตให้ลูกไปบวช บำเพ็ญบารมีอยู่ในป่าด้วยความอนุโมทนา
  • แม่เลี้ยงทั้ง ๕ เห็นปณิธานที่มุ่งมั่น จะบำเพ็ญบารมีพระโพธิญาณ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ในวัฏฏะสงสาร จึงฝากนามของแม่เลี้ยงไว้กับลูก เพื่อเป็นอนุสรณ์ตำนานไว้แก่โลกต่อไปในภาคหน้า เมื่อลูกได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกแล้ว ตามลำดับพระนามดังต่อไปนี้

  • องค์ ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นไก่
  • องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นนาค
  • องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า
  • องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค
  • องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นราชสีห์

  • ในกัปนี้ชื่อ ว่า ภัททกัป เป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ถึง ๕ พระองค์ 
  • จึงเป็นที่มาของ คำว่า “นโมพุทธายะ”

    • นะ คือ พระกกุสันโธ
    • โม คือ พระโกนาคมโน
    • พุท คือ พระกัสสโป
    • ธา คือ พระโคตโม
    • ยะ คือ พระศรีอาริยเมตไตรโย

  • จน เป็นคาถาที่ใช้สืบต่อกันมา 
  • ฝ่าย พระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ เมื่อออกบวชเป็นฤาษี ก็ได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐาน จนสำเร็จญาณอภิญญาสมาบัติ 
  • อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะมาหาอาหารผลไม้ และบำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงกุตตระ ณ ใต้ต้นนิโครธ อันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ ฤาษีทั้ง ๕ 
  • ได้มาพบกัน ณ ที่นี้โดยไม่ได้นัดหมาย จึงสอบถามถึงความเป็นมาของกัน และกันจนรู้ว่าแต่ละองค์ก็มีแต่แม่เลี้ยง ฤาษีทั้ง ๕ จึงร่วมกันตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้ได้พบแม่บังเกิดเกล้า
  • ด้วยอำนาจ สัจจะอธิษฐานธรรมอันบริสุทธิ์ดังก้องไปถึงพรหมโลก ท้าวฆติกามหาพรหม ซึ่งเดิมคือ แม่กาเผือก ทราบเหตุการณ์ทั้งหมด
  • จึงจำแลงเพศเป็นรูปเดิม ขนขาวสวยงาม มาปรากฏตัวอยู่ข้างหน้าของฤาษีทั้ง ๕ เมื่อลูกฤาษีได้ทราบเรื่องราวทั้งหมด ก็รู้สึกสลดสังเวชใจ และสำนึกบุญคุณอันใหญ่หลวงของแม่กาเผือก 
  • จึงน้อมนมัสการผู้เป็นแม่ กราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์ผู้บังเกิดเกล้าไว้บูชา ได้มาเป็นผ้าฝ้ายเป็นตีนกาสัญลักษณ์ของแม่กาเผือกให้แก่ลูกฤาษีทั้ง ๕ ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาทุกวันพระ 
  • และต่อมาได้กลายเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ตลอดกาลนาน



  • ฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง ๕ ต่างพากันตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรรักษาศีลธรรมภาวนามิได้ขาดจนดับขันธ์ ได้ไปจุติบนเทวโลกชั้นดุสิตพิภพ 
  • และในกาลต่อมา ก็วนเวียนบำเพ็ญเพียรบารมีทุกภพชาติที่กำเนิดเกิดในสงสารวัฏ นี้ 
  • จนบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ทั้ง 30 ทัศแล้ว ก็ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ฆติกามหาพรหม ผู้เป็นแม่ต้นกัปโลกา ก็จะนำเอาบริขาร คือ บาตรไตรจีวร มาถวายลูกโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ในชาติสุดท้ายที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกทุกพระองค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์