วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ปัญญาปารมิตาหฤทัยสูตร

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ


ปัญญาปารมิตาหฤทัยสูตร
-------------------------------------
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ 


เมื่อได้ปฏิบัติซึ้งแล้วซึ่งปัญญาปารมิตา
เพ่งเห็นขันธ์ทั้ง ๕ มีความเป็นศูนย์ 


จึงข้ามพ้นสรรพทุกข์ทั้งปวงได้
-------------------------------------
สารีบุตร 
รูปไม่อื่นไปจากศูนย์ ศูนย์ไม่อื่นไปจากรูป
รูปคือความศูนย์ ความศูนย์คือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน
-------------------------------------
สารีบุตร 
ธรรมทั้งปวง มีความศูนย์เป็นลักษณะ
ไม่เกิดไม่ดับ ไม่มัวหมอง
ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่มไม่ลด
-------------------------------------
ฉะนั้น ในความศูนย์จึงไม่มีรูป 
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรม
ไม่มีจักษุธาตุ กระทั่งไม่มีมโนธาตุ
ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งอวิชชา
กระทั่งไม่มีความแก่ ความตาย
และก็ไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่ ความตาย
ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ไม่มีญาณ และก็ไม่มีการได้อะไร
เพราะไม่มีอะไรจะได้
-------------------------------------
พระโพธิสัตว์
ด้วยเหตุดำเนินตามปัญญาปารมิตา
จิตย่อมไม่ขัดข้อง
เพราะจิตไม่ขัดข้อง จึงไม่มีความสะดุ้งกลัว
ละจากความวิปลาสและความเพ้อฝัน
มีพระนิพพานเป็นที่สุด
-------------------------------------
พระพุทธเจ้าทั้งสามกาล
เนื่องด้วยดำเนินตามปัญญาบารมี
จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
-------------------------------------
ฉะนั้น จึงทราบว่าปัญญาปารมิตา
เป็นมหาศักดามนตร์
เป็นมหาวิทยามนตร์
เป็นอนุตตรมนตร์
เป็นอสมสมมนตร์
สามารถดับสรรพทุกข์ได้
นี่เป็นสัจจะไม่ผิดพลาด

ฉะนั้น 
จึงประกาศปัญญาปารมิตามนตร์ ดังนี้ 
คติ คติ ปราคติ ปราสังคติ โพธิสวาหะ



๑ ชื่อพระสูตร
--------------------------
“หฤทัยสูตร” นี้
ชื่อเต็มเรียกว่า 
“ปัญญาปารมิตาหฤทัยสูตร” 
กล่าวโดยตรงถึง
การหลุดพ้นด้วยปัญญาเท่านั้น
--------------------------------
คำว่า “ปัญญา” 
(จีนไม่ได้แปลคำปัญญา แต่ใช้ทับศัพท์ออกเสียงว่า “ปัวะเย้”) 
ไม่ใช่ปัญญาที่เราเข้าใจกัน 
และก็ไม่มีคำอะไรที่จะแปลความหมายนี้ได้
ในที่นี้จะให้คำว่า
“พุทธิปัญญา” 
แทนเพื่อให้แตกต่างกับคำว่า
ปัญญาที่เราเข้าใจกัน
--------------------------------
“ปัญญาที่เราเข้าใจกัน” 
คือความรู้ 
ส่วนความรู้นั้น 
คือ
ปัญญาที่เป็นโมหะและเป็นความโง่เขลา
--------------------------------
ฉะนั้น ปัญญาที่ไม่ถูกต้องนี้ 
ย่อมไม่สามารถเห็นซึ้งในสัจธรรม 
ซ้ำพาให้เกิดความกลัดกลุ้มและความโง่
ไม่เป็นเหตุให้เข้าใจต่อสรรพธรรม
--------------------------------
พระพุทธองค์ได้ปรับความรู้มาเป็นพุทธิปัญญา 
คือการปรับความหลงมาเป็นการเห็นแจ้ง
สรุปได้ว่า 
เมื่อหลง...ก็คือมนุษย์เรา 
เมื่อเห็นแจ้ง...ก็คือ พระพุทธเจ้า
--------------------------------
“ปารมิตา” 
นี่ก็เป็นคำทับศัพท์ ถ้าเป็นภาษาเราก็คือ 
“ข้ามไปฝั่งโน้น”
--------------------------------

พุทธศาสนาถือว่า โลกที่เราอยู่นี้ 
เป็นโลกที่เราหลงอยู่ 
ไม่มีความอิสระ คือ ฝั่งนี้
ส่วนโลกในอุดมคติ คือ โลกที่เห็นแจ้ง 
มีความอิสระ คือ ฝั่งโน้น
--------------------------------
ฉะนั้น ที่ว่าฝั่งโน้น หรือข้ามไปฝั่งโน้น 
ก็คือ
ความสำเร็จในการบรรลุเป็นพระพุทธเจ้านั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์