วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

พระกฤษณะ



"พระกฤษณะ"
  • มหาเทพผู้แห่งความหลุดพ้นชี้ทางมนุษย์ไปสู่ความสุขสมบูรณ์ที่แท้จริง พระกฤษณะ เป็นอวตารหนึ่งของ พระวิษณุ ในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" ซึ่งเป็นหนังสือที่ยาวที่สุดในโลก
  • บรรจุไว้ซึ่งเรื่องราวต่างๆมากมายและมีคัมภีร์เล่มหนึ่งบรรจุไว้ด้วย นั่นคือ "คัมภีร์ภควัทคีตา"
  • อวตารของพระวิษณุครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงยุคที่สองของโลก
  • เนื้อเรื่องกล่าวถึง กษัตริย์อุครเสน (Ugrasena) ผู้ครอง เมืองมถุรา พระองค์เป็นกษัตริย์ทรงคุณธรรม เป็นที่รักใคร่ของประชาชนทั่วไป ทรงมีมเหสีคือ นางปวนะเรขา(Pavanarekha) ปกครองบ้านเมืองร่วมกันอย่างมีความสุข
  • วันหนึ่งพระนางปวนะเรขาเสด็จประพาสป่า ถูกอสูรตนหนึ่งแปลงร่างเป็นกษัตริย์อุครเสนมาร่วมเสพสม ครั้งต่อมาอีกสิบเดือนจึงบังเกิดโอรส นามว่า “กังสะ” (Kansa) กษัตริย์อุครเสนทรงหลงคิดว่ากังสะเป็นโอรสของพระองค์
  • กังสะเมื่อเติบโตก็เริ่มแสดงออกถึงความชั่วร้าย เช่น ไม่เคารพบิดา สังหารเด็กอื่นๆ ตลอดจนใช้กำลังขู่บังคับเอาธิดาทั้งสององค์ของ กษัตริย์ชราสันธ์ (Jarasandha) แห่ง เมืองมคธ มาเป็นชายาของตน และสุดท้ายก็จับตัวกษัตริย์อุครเสนไปคุมขังไว้ จากนั้นจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แทน นอกจากนี้ยังขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง
  • และที่สำคัญ กังสะ สั่งประกาศห้ามผู้คนไม่ให้ประกอบพิธีเคารพบูชา พระวิษณุ!!
  • พระวิษณุมหาเทพ ทรงทอดพระเนตรเห็นความเดือดร้อนของมนุษย์และทวยเทพ จึงตัดสินพระทัยอวตารลงไปปราบอสูร
  • โดยทรงพระดำริว่าควรไปจุติเป็นบุตรของ นางเทวากี (ธิดาองค์ที่เจ็ดของพระเจ้าเทวากา ลุงของพญากังสะ) กับ วสุเทวะ (Vasudeva)
  • พระวิษณุทรงถอนเส้นพระเกศาดำของพระองค์ และเส้นผมขาวของพญานาคอนันตะ (เศษะนาค) ส่งไปยังครรภ์ของนางเทวากี
  • เส้นผมขาวของเศษะนาคบังเกิดเป็นบุตรคนที่เจ็ด นามว่า “พลราม”
  • ส่วนเส้นพระเกศาดำของพระองค์บังเกิดเป็นบุตรคนที่แปด นามว่า “กฤษณะ”
  • ย้อนเหตุการณ์ไปครั้งเมื่อมีงานแต่งงานระหว่างนางเทวากีกับวสุเทวะนั้น มีเสียงดังมาจากเบื้องบนเตือนพญากังสะว่า
  • พระองค์จะถูกประหารโดยบุตรของนางเทวากี พญากังสะจึงคิดสังหารนางเทวากี
  • แต่วสุเทวะสัญญาว่าจะนำลูกของตนที่เกิดกับนางเทวากีทั้งหมดมามอบให้พญากังสะ
  • เมื่อนางเทวากีคลอดบุตรหกคนแรกออกมา วสุเทวะก็รักษาสัญญาโดยนำมาให้กับพญากังสะ และถูกสังหารทั้งหมด
  • จนกระทั่งนางเทวากีใกล้จะให้กำเนิดบุตรคนที่เจ็ด ก็มีเสียงเตือนพญากังสะจากเบื้องบนเป็นครั้งที่สองว่า
  • ผู้ที่เกิดมาเป็นคนเลี้ยงโค จะเป็นผู้ประหารพระองค์ พญากังสะจึงออกคำสั่งให้สังหารคนเลี้ยงโคทุกคนที่พบ
  • ฝ่ายนันทะ (Nanda) คนเลี้ยงโคซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของวสุเทวะตัดสินใจช่วยวสุเทว
  • โดยให้วสุเทวะส่งภรรยาอีกคนหนึ่ง คือ นางโรหินี (Rohini) ไปอยู่กับนันทะ จากนั้นพระวิษณุก็ทรงใช้ฤทธิ์อำนาจสับเปลี่ยนเอาบุตรในครรภ์ของนางเทวากีไปใส่ในครรภ์ของนางโรหินีแทน
  • และถือกำเนิด พระพลราม โดยพญากังสะคิดว่าบุตรของนางเทวากีเสียชีวิตในครรภ์มารดาไปแล้ว
  • ส่วนบุตรคนที่แปด หรือ พระกฤษณะ นั้น วสุเทวะได้สับเปลี่ยนโดยนำเอาบุตรีของนันทะกับนางยโสดา (Yasoda) ไปมอบให้พญากังสะ
  • เมื่อพญากังสะรับมาก็ขว้างใส่ก้อนหิน แต่ปรากฎว่าทารกนั้นกลับกลายร่างเป็นเทพธิดาเหาะขึ้นไปบนฟ้า และกล่าวกับพญากังสะว่า
  • บัดนี้ผู้ที่จะสังหารพญากังสะได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว!!!
  • กฤษณะเติบโตท่ามกลางหมู่คนเลี้ยงโค
  • แค่เพียงในช่วงขวบปีแรกก็มีอสูรถึง 3 ตนพยายามทำร้ายพระองค์
  • ครั้งแรกเป็น อสูรปุตนะ (Putana) แปลงร่างเป็นหญิงสาวมาให้นมพระกฤษณะ โดยใส่ยาพิษไว้ในนม
  • แต่พระกฤษณะรู้ทัน จึงดูดนมจน อสูนปุตนะ สิ้นชีพ
  • ครั้งที่สองเป็น อสูรศักตาสูร (Saktasura) มีฤทธิ์สามารถบินได้
  • วางแผนจะใช้กำลังลากรถบรรทุกภาชนะเหยือกน้ำให้ไปทับร่างพระกฤษณะที่นอนหลับอยู่แต่ไม่สำเร็จ
  • ส่วนครั้งที่สามเป็น อสูรตรีนะวัตร (Trinavasta) แสดงฤทธิ์เป็นลมหมุน
  • หมายจะพัดร่างของพระกฤษณะให้ตกลงมาจากตักของนางยโสดา แต่ไม่บังเกิดผล
  • กลับถูกพระกฤษณะจับเหวี่ยงทุ่มใส่ก้อนหิน ทำให้พายุสงบลง
  • ชีวิตในวัยเด็กของพระกฤษณะต้องต่อสู้กับอสูรที่พญากังสะส่งมาหลายครั้ง เนื่องจากพญากังสะต้องการกำจัดเด็กที่มีพลังอำนาจสามารถสังหารตนได้ อสูรที่มาทำร้ายก็มี..
  • อสูรวัตสาสูร (Vatsasura) ปรากฎในร่างโค
  • อสูรบากาสูร (Bagasura) ปรากฎในร่างนกกระเรียนพยายามกลืนร่างพระกฤษณะ แต่ในที่สุดพระกฤษณะก็ปราบได้
  • อุกราสูร (Ugrasura) ปรากฎในร่างงู เข้ามากลืนร่างพระกฤษณะลงไปในท้อง แต่ในที่สุดพระกฤษณะก็ฉีกร่างอสูรออกมาได้
  • นอกจากนี้ พระกฤษณะก็ได้สังหาร อสูรเธนุกา (Dhenuka) และสั่งสอน นาคกาลิยะ (Kaliya) ให้สำนึกผิดด้วย
  • ส่วนพระพลรามผู้พี่ก็ได้ปราบอสูรต่างๆเช่น อสูรประลัมพ์ (Pra-lamba) ซึ่งเป็นอสูรที่ปรากฎในร่างคน เป็นต้น
  • ชีวิตในวัยหนุ่มของพระกฤษณะผ่านประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะการโน้มน้าวให้คนเลี้ยงโคเลิกเซ่นบวงสรวง พระอินทร์
  • โดยให้ไปบูชาภูเขาโควรรธนะแทน ทำให้พระอินทร์พิโรธ บันดาลให้เกิดพายุ ฝนตกหนักตลอดทั้งเจ็ดวันเพื่อเป็นการลงโทษ
  • แต่พระกฤษณะใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวยกภูเขาโควรรธนะขึ้นกำบังฝูงคนเลี้ยงโคเอาไว้
  • กระทั่งท้ายที่สุด พระอินทร์ได้ทรง ช้างไอราวตะ พร้อมกับ แม่วัวสุรภี ลงมาเคารพพระกฤษณะ
  • ในเรื่องความรัก เมื่อพระกฤษณะเติบโตเป็นหนุ่ม ก็เป็นที่หมายปองของเหล่า นางโคปี (ภรรยาคนเลี้ยงโค) ทั้งหลาย
  • วันหนึ่ง ขณะที่เหล่าโคปีกำลังอาบน้ำที่ แม่น้ำยมุนา และต่างขอพรให้ตนได้สมปรารถนาในรัก
  • พระกฤษณะได้มาขโมยเสื้อผ้าของพวกนางและหนีไปซ่อนอยู่บนต้นไม้ จากนั้นพระกฤษณะก็เรียกนางโคปีที่เปลือยกายให้ขึ้นจากน้ำ
  • เพื่อมารับเสื้อผ้าคืน เมื่อได้หยอกล้อเหล่าโคปีแล้ว พระกฤษณะก็สัญญาว่า พระองค์จะไปเต้นรำร่วมกับเหล่านางโคปีในฤดูใบไม้ร่วงครั้งหน้า
  • ครั้นถึงฤดูใบไม้ร่วงในคืนที่แสงจันทร์สว่างไสว พระกฤษณะได้เป่าขลุ่ยเรียกเหล่านางโคปีเหล่านั้นให้แอบหนีสามีที่กำลังหลับเข้ามาในป่า
  • จากนั้นก็ได้เต้นรำกัน นางโคปีทุกคนต่างรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือนว่าตนได้เต้นรำกับพระกฤษณะในลักษณาการของคู่รัก
  • การเต้นรำนี้ยาวนานถึงหกเดือน จากนั้นทั้งหมดก็ได้ไปอาบน้ำที่แม่น้ำยมุนาร่วมกัน เมื่อนางโคปีกลับบ้านก็จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • ในบรรดานางโคปีทั้งหมด มีหญิงคนหนึ่งที่ถือเป็นคู่รักคนสำคัญของพระกฤษณะ
  • นางมีนามว่า “ราธา” (พระแม่ราธาเทวี คู่รักพระกฤษณะ)
  • มีบทบรรยายถึงความรักระหว่างคนทั้งสองอยู่มากมาย
  • ฝ่ายพญากังสะยังไม่สิ้นความพยายามที่จะสังหารพระกฤษณะ ได้ส่ง อสูรสังกาสูร (Sankhasura)
  • เข้ามาทำร้ายนางโคปีที่มาอยู่กับพระกฤษณะและพระพลราม พระกฤษณะได้เข้าต่อสู้และตัดหัวของสังกาสูรได้สำเร็จ
  • ในคืนต่อมาก็มีอสูรวัวเข้ามาทำร้ายอีก ซึ่งก็ถูกพระกฤษณะจับหักคอจนสิ้นชีพ
  • โหราจารยฺ์ของพญากังสะทำนายว่า พระกฤษณธจะมาสังหารพญากังสะ พญากังสะจึงจับตัวนางเทวากีและวสุเทวะจองจำไว้
  • พร้อมกับวางแผนสังหารพระกฤษณะอีก โดยเชิญให้เข้ามาในเมืองมถุรา
  • และได้ส่งอสูรรูปม้าชื่อ "เกศิน" (Kesin) ไปลอบทำร้ายระหว่างทาง แต่ก็ถูกพระกฤษณะเอากำปั้นยัดใส่ปากจนสิ้นชีพ
  • นอกจากนี้ ยังส่งอสูรหมาป่าที่แปลงร่างเป็นขอทานมาทำร้าย แต่พระกฤษณะก็ล่วงรู้กลอุบายและปราบได้สำเร็จ
  • หลังจากนั้น พญากังสะได้ให้อำมาตย์เอกนาม อกุระ (Akrura) เชื้อเชิญพระกฤษณะเข้าไปในเมืองแต่อกุระเป็นผู้ที่ภักดีต่อพระกฤษณะ
  • จึงเล่าความจริงเกี่ยวกับแผนร้ายของพญากังสะว่า พญากังสะต้องการลวงพระกฤษณะไปสังหารในเมือง
  • พระกฤษณะและพลรามเดินทางเข้าไปในเมือง ทำลายธนูของศิวะ สังหารคนเฝ้าประตูเมือง จากนั้นปราบช้างกุวัลยปิยะ
  • และต่อสู้กับนักมวยปล้ำจาณูระและมุสติกะ ท้ายที่สุด พระกฤษณะได้ลากตัวพญากังสะลงมาจากบัลลังก์ และใช้กำปั้นทุบจนสิ้นชีพ
  • จากนั้นก็ได้มอบราชสมบัติคืนให้กษัตริย์อุครเสนตามเดิม โดยพระกฤษณะอาศัยอยู่กับนางเทวากีระยะหนึ่ง
  • พระกฤษณะได้ปราบอสูรอีกหลายครั้ง ในที่สุด พระองค์ก็ได้ออกไปหาทำเลสร้างเมืองใหม่
  • โดยให้พระวิศวกรรมเนรมิตเมืองให้เสร็จภายในคืนเดียว จากนั้นย้ายตระกูลยาฑพออกไปยังเมืองใหม่ นามว่า "ทวารกา"
  • เมื่อย้ายมาอยู่เมืองทวารกาแล้ว พระกฤษณะก็ออกเสาะแสวงหาชายาให้กับพระองค์เองและพระพลราม
  • พระพลรามได้แต่งงานกับ นางเรวาตี (Revati) ส่วนพระกฤษณะเข้าพิธีแต่งงานกับ นางรุกมินี (Rukmini)
  • แต่ก่อนหน้านั้น ก็ต้องต่อสู้กับ "รุกมา"และ "สีสุปาละ" พี่ชายของนางรุกมินี ซึ่งเป็นญาติของพระกฤษณะ และหมายปองนางรุกมินีเช่นกัน
  • หลังการแต่งงาน พระกฤษณะก็ยังต่อสู้กับอสูรอื่นๆ อีกมากมาย และได้ชายามาอีก 7 องค์ เช่น
  • นางชามภวาตี (Jambavati) บุตรีของชามภูวาล ผู้เป็นกษัตริย์แห่งหมี 
  • นางสัตยภามา (Satyabhama) ธิดาของสัตราชิต
  • นางกัลลินดิ (Kalindi) ธิดาของพระอาทิตย์ และชายาอีก 4 องค์จากการปราบปรามอสูรตนอื่นๆ
  • ภารกิจสำคัญอีกครั้งหนึ่งคือการปราบ นาระกะ (Naraka) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของ ปักโยทิชา (Pragiyotisha)
  • นาระกะได้รับพรจากมหาเทพทั้งสามให้เป็นผู้ที่ไม่มีใครเสมอเทียมได้ สร้างเดือดร้อนแก่เหล่าเทวดา
  • ถึงขั้นไปยึดเอาตุ้มหูของนางอทิติ(ผู้เป็นมารดาของเหล่าเทพ)
  • จากนั้นก็ไปยึดเอามงกุฏของพระอินทร์มาสวมใส่และยึดนางอัปสร ๑๖,๐๐๐ องค์ไปจากสวรรค์
  • ท้ายที่สุดยังแปลงร่างเป็นช้างไปข่มขืนธิดาของ พระวิศวกรรม ด้วย
  • พระกฤษณะได้บุกไปยังเมืองของนาระกะ ปราบอสูรตนนี้ จากนั้นจึงนำสิ่งของที่ถูกยึดคืนกลับไปให้เจ้าของ
  • ส่วนนางอัปสรทั้งหมดนั้น พระองค์นำกลับไปยังเมืองทวารกา และแต่งงานกับทุกนาง (พระกฤษณะมีชายาทั้งหมด ๑๖,๑๐๘ นาง)
  • ความที่มีชายามากมายจึงเกิดเรื่องราวอยู่หลายครั้ง
  • เช่น ครั้งหนึ่งพระกฤษณะมอบดอกปาริชาต (ดอกไม้สวรรค์ที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร
  • พระอินทร์เป็นผู้ดูแลรักษาไว้ในเขตของสวรรค์ของพระองค์) แก่นางรุกมินี ปรากฎว่านางสัตยภามาก็ต้องการบ้าง
  • พระกฤษณะจึงบุกขึ้นไปบนสวรรค์ของพระอินทร์เกิดสู้รบกัน ในที่สุดพระกฤษณะนำต้นปาริชาตมาไว้ยังเมืองทวารกาได้สำเร็จ
  • แต่หลังจากนั้นหนึ่งปีก็คืนให้พระอินทร์นำไปปลูกไว้ที่เดิม
  • ในมหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ที่รู้จักกันในนาม “มหาภารตยุทธ” ซึ่งรจนาเป็นมหากาพย์ในชื่อ “มหากาพย์มหาภารตะ”
  • อันเป็นสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ กับ ตระกูลเการพ นั้น พระกฤษณะเป็นสารถีให้ ฝ่ายปาณฑพ และสอน ท้าวอรชุน
  • (หนึ่งในห้าของพี่น้องตระกูลปาณฑพ) ไว้ใน “ภัควัตคีตา” วรรณคดีอันมีชื่อเสียง
  • ท้ายที่สุดฝ่ายตระกูลปาณฑพก็มีชัยในสงครามครั้งนี้
  • เมื่อได้เวลาอันสมควร ก็ถึงกาลที่พระกฤษณะจะกลับไปยังไวกูณฐ์สถานของพระองค์
  • เหตุการณ์มีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง หมู่กษัตริย์ยาฑพเมาสุรา ทะเลาะวิวาทปลงพระชนท์กันเอง พระกฤษณะพยายามห้ามปราม แต่ก็ไม่เป็นผล
  • พระองค์จึงหลบหนีเข้าไปในป่า บังเอิญขณะนั้น มีพรานป่าออกล่าสัตว์ พรานผู้นั้นสำคัญผิดว่า
  • พระกฤษณะเป็นสัตว์จึงยิงพระองค์ด้วยธนูถูกที่ "ข้อเท้า" อันเป็นจุดชีวิตของพระกฤษณะ จนสิ้นพระชนม์
  • ส่วนพระพลรามสิ้นพระชนม์ใกล้ชายฝั่งทะเล กลับไปเป็นเศษะนาคอันเป็นร่างเดิมและคืนกลับสู่เกษียรสมุทร
  • เมื่อข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระกฤษณะล่วงรู้ไปถึงในเมือง พระวสุเทวะ นางเทวากี ตลอดจนนางโรหินีก็สิ้นพระชนม์ตามไปด้วย
  • จากนั้นไม่นานก็เกิดน้ำท่วมใหญ่จนเมืองทวารกาจมหายไปในที่สุด
  • รูปเคารพพรกฤษณะค่อนข้างมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ทรงมีประวัติยาวนาน
  • จึงมีภาพสลักเรื่องราวแสดงเหตุการณ์สำคัญหลายตอน

ขอขอบพระคุณ : ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี / สำนักพิมพ์ Museum Press

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เปิดพลังแห่ง ความสุข.............

การให้เกียรติสิ่งรอบตัวถือเป็นการเปิดพลังแห่งทัศนคติใหม่ และยังเสริมการมองเห็นทัศนวิสัย ให้ก้าวสู่โลกที่มีคุณค่า และนอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นขึ้นมาเห็นความจริงรอบตัว ที่คุณอาจจะไม่เคยเห็น และรับรู้คุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา หรือสังคมของเรา แล้วเรียนรู้ที่จะรักในสิ่งที่ควรรัก รักในสิ่งที่ให้ความรู้สึกดีๆที่ตอบแทนมาอย่างมีคุณค่าจริงๆ มันจะช่วยฉุดดึงให้คุณหลุดออกจาก อดีตที่เจ็บช้ำหรือแม้แต่ความยึดติดใดๆก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งรอบตัวบางอย่างหรือหลายๆอย่างนั้น คุณอาจไม่เคยแยแส แม้แต่ก่อนที่จะพบเรื่องเศร้าด้วยซ้ำ
คำว่า “การให้เกียรติ” คำๆนี้คือวิถีคือครรลองที่สังคมของมนุษย์ที่มีจิตใจสูงในทางโลก ย่อมที่จะพัวพันกับภาวะของการให้เกียรติอยู่กันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติต่อ บุคคล ให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ ให้เกียรติต่อสิ่งที่ยึดถือ ให้เกียรติต่อสิ่งที่มีบุญคุณ ในชีวิตเราและชีวิตท่านวันนี้คุณให้เกียรติคนที่คุณ "เกลียดชัง" พวกเขาแล้วหรือยัง.......

" โลกนี้จะร่มเป็นสุข อยากให้โลกนี้ดีงาม ให้เริ่มต้นที่ ใจ ตนเองเป็นอันดับแรก "

Glitter Photos

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์

พระเชนเรซิก อวโลกิเตศวร มหาโพธิสัตว์